บทความ

Posted by | March 31, 2022
รูปแบบการศึกษาทางเลือกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็กนอกระบบการศึกษาในสังคมไทย

การศึกษาทางเลือก คือ การจัดการศึกษาที่เคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะเลือกการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่ไม่ประสงค์จะเรียนในระบบการศึกษาตามปกติ เป็นการศึกษาที่มีขอบเขตกว้างขวาง มีรูปแบบหลากหลายทั้งเนื้อหา และวิธีการเรียนรู้ มุ่งตอบสนองการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์แต่ละคนที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ ความพร้อมในการเรียนรู้   รูปแบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมและน่าจะนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็กนอกระบบการศึกษา  บ้านเรียนหรือการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School) บ้านเรียนเป็นการพยายามคิดค้นหาแนวทางในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะเป็นทางออก เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาที่มีอยู่ในระบบที่ไม่สามารถตอบสนองกับบริบทของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ช่วยแก้ปัญหาให้กับครอบครัวและผู้เรียนที่มีความต้องการเฉพาะ ผู้เรียนที่มีพรสวรรค์พิเศษในด้านต่าง ๆ รวมถึงผู้เรียนที่มีความบกพร่องบางด้าน มีความพิการ เจ็บป่วย ต้องการการดูแลและการจัดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล บ้านเรียนจึงเป็นพื้นที่ในการปฏิรูปการเรียนรู้ได้อย่างอิสระและหลากหลาย สามารถสร้างนวัตกรรมทางการศึกษามากมายที่มีความแตกต่างกันไปตามปรัชญา ความคิด ความเชื่อ และตามวิถีการดำเนินชีวิตของครอบครัวและผู้เรียน เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เอื้อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและความถนัดได้อย่างเต็มศักยภาพ...

Continue Reading
Posted by | December 14, 2021
แนะนำหนังสือ “ก่อน” พระอาทิตย์ตกดิน (Before the sunset)

หนังสือ “ก่อน” พระอาทิตย์ตกดิน (Before the sunset) เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการภายใต้โครงการประสานงานเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) นำเสนอเรื่องราวชีวิตจริงของเด็กนอกระบบการศึกษาที่เกิดจากประเด็นปัญหาที่ปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน เรื่องราวเล่านี้เป็นเพียงตัวแทนของเด็กและเยาวชนอีกกว่า 25,000 ชีวิตที่มีความฝัน ความหวัง และความต้องการอนาคตที่ดีเพื่อตนเองและครอบครัว บางคนใช้โอกาสที่ได้รับในครั้งนี้เปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ถูกแปรเปลี่ยนเส้นทางชีวิตใหม่ ทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงรูปธรรมผ่านการเข้าไปสนับสนุนเด้กและเยาวชนแบบรายบุคคลและกลุ่ม อ่านและดาวน์โหลดทั้งหมด

Continue Reading
Posted by | November 29, 2021
บทความ “Node: หน่วยประสานเครือข่ายงานด้านการพัฒนาสังคมใน มุมมองทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำการ”

บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออรรถาธิบายความเป็นมาของ node หน่วยประสานเครือข่ายงานด้านการ พัฒนาสังคมในประเทศไทยและอภิปรายใน 3 ประเด็น คือ1. บทบาทและรูปแบบการทำงาน 2.องค์ประกอบด้าน คุณลักษณะของ node ประกอบด้วยคุณลักษณะด้านความรู้ทักษะ และเจตคติต่อการททำงานพัฒนาสังคม และ 3. ความสัมพันธ์ของnode กับงานพัฒนาสังคมตามทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำการ ผลการถอดบทเรียนการทำงาน ของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน พบว่า1.node มีบทบาทเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมโดยมีรูปแบบการททำงานแบบประสานความร่วมมือกับองค์กรทางสังคม 2.node ต้องมีคุณลักษณะด้าน ความรู้ที่หลากหลายทั้งกว้างและลึกเชิงประเด็น มีทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วม และมีอุดมการณ์ ในการทำงานเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ และ...

Continue Reading
Posted by | November 26, 2021
บทความ “แนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมือง : การเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของประเทศไทย สาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์”

บทคัดย่อ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของแนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมืองของประเทศไทย สาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์ โดยใช้การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารข้อมูลเชิงนโยบายของภาครัฐและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะ 3 แหล่ง ได้แก่ 1) แผนพัฒนาเยาวชนแห่งชาติของสาธารณรัฐเอสโตเนีย ปี 2014-2020 2) เอกสารวิจัยของสภาเยาวชนแห่งชาติสิงคโปร์และแผนปฏิบัติการเยาวชนสิงคโปร์ และ 3) รายงานการศึกษาการส่งเสริมกระบวนการทางความคิดเด็กและเยาวชนสู่ประเทศไทย 4.0 โดยสังเคราะห์ในประเด็นแนวทางเชิงนโยบาย วิธีการพัฒนาเยาวชนเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง และแนวทางการส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโต ผลการศึกษาพบว่าในสาธารณรัฐเอสโตเนีย สิงคโปร์ และไทย มีความคล้ายคลึงกันในด้านวิธีการกำหนดนโยบายการพัฒนาเยาวชนและการสนับสนุนงบประมาณการทำงานให้กับเยาวชนโดยตรงผ่านช่องทางต่าง ๆ แต่มีความแตกต่างกันในด้านแนวคิดและวิธีการทำงานพัฒนาเยาวชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน และการสร้างนิเวศวัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับเยาวชนที่สอดคล้องกับกรอบความคิดแบบเติบโต สามารถอ่านได้ที่ลิ้งด้านล่าง...

Continue Reading
Posted by | July 9, 2021
การส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเด็กบนท้องถนนในเขตกรุงเทพฯ

กลุ่มเด็กบนท้องถนน (Children in Street) เป็นหนึ่งกลุ่มคนในสังคมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โควิด (COVID-19) ทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการทำงาน . ผลการศึกษาจากโครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเด็กบนท้องถนน (Children in Street) ในเขตกรุงเทพมหานคร พบรูปแบบและกลไกการให้บริการการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ ถึงเวลาแล้วที่ภาคส่วนต่างๆ ควรต้องให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพ และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับตามความเหมาะสม ปรับลักษณะการเรียนรู้ให้มีความยืดหยุ่นโดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางการทำงานเพื่อสร้างเสริมศักยภาพกลุ่มเด็กบนท้องถนนรายบุคคล เพิ่มการสื่อสารและการรับช่วงต่อการทำงานที่เป็นระบบในลักษณะภาคีการส่งเสริมการพัฒนากลุ่มเด็กบนท้องถนนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สู่โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค ทั่วถึง และเป็นธรรม . รายการอ้างอิง นายกุลธร เลิศสุริยะกุล, นิตติยา...

Continue Reading
Posted by | June 25, 2021
บทความพิเศษ อัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศของนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทย

บทความนี้ได้ศึกษาการใช้พื้นที่การแข่งขันเต้นของกลุ่มนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทย ในการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ LGBT และอำนาจต่อรองอัตลักษณ์ของกลุ่มนักเต้น โดยในงานศึกษานี้ได้ใช้แนวคิด อัตลักษณ์ทางเพศมาใช้ใน การวิเคราะห์ภายใต้องค์ประกอบสำคัญ เช่น การแต่งกาย ท่าเต้น การแสดงออก กับนักเต้นในทีมและผู้ชม ผู้วิจัยยังได้ใช้แนวคิดในเรื่อง “ชีวอำนาจ” (Biopower) ในการวิเคราะห์อำนาจในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ทางเพศในพื้นที่การเต้น Cover Dance จากการวิเคราะห์อัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศของนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทยนี้ ได้ต่อยอดความคิดจากงานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารกับการประกอบสร้างอัตลักษณ์กลุ่มวัฒนธรรมย่อยของนักเต้น Cover Dance” เพื่อหารูปแบบการประกอบสร้างอัตลักษณ์ชุดใหม่ในพื้นที่การเต้น Cover Dance โดยค้นพบว่ากลุ่ม...

Continue Reading
Posted by | June 12, 2021
ปฐมพยาบาลหัวใจให้เด็กนอกระบบ

ผู้เขียน : กชวร จุ๋ยมณี เด็กนอกระบบนอกจากนอกจากจะขาดโอกาสที่เท่าเทียมในการศึกษาและประกอบอาชีพแล้ว หลายคนยังมีความเสี่ยงที่จะถูกล่วงละเมิด (Abuse) ทั้งทางร่างกาย จิตใจและทางเพศ บางคนถูกกลั่นแกล้ง (Bully) ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน จนเกิดความเครียด นำไปสู่ความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีคุณครูนอกระบบบางคนเคยเปรยกับผู้เขียนว่า อยากช่วยเด็ก ๆ เมื่อประสบความทุกข์ยาก จะทำอย่างไรดี? หนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุด เป็นวิธีปฐมพยาบาลที่ช่วยดูแลหัวใจที่บอบช้ำของเด็กนอกระบบ (รวมทั้งมนุษย์ทุกคน) คือ การฟังด้วยหัวใจ เป็น "การฟังอย่างลึกซึ้ง" (Deep Listening) ที่เปรียบเสมือนกุญแจที่จะเข้าถึงใจของผู้ที่เราสนทนาด้วย การฟังนั้นต้องอาศัยประสาทสัมผัสหลายส่วน...

Continue Reading
Posted by | May 17, 2021
มโนทัศน์ (concept) ของการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ผู้เขียน : ผศ.ดร.ระวี จูฑศฤงค์ การศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ กิจกรรมการศึกษา ที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียน หรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้น และมีวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษาหรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) ลักษณะสำคัญ คือ มีการจัดที่ ยืดหยุ่น ในทุกขั้นตอน ทั้งการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของแต่ละบุคคล รูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เช่น การเรียนด้วยตนเอง...

Continue Reading
Posted by | March 23, 2021
บทความพิเศษ เด็ก เยาวชน พลเมือง ประชาธิปไตยแบบเสมือน

วารสารพัฒนศาสตร์ ได้รวบรวมบทความในประเด็นของ ผู้นำรุ่นใหม่ สิทธิ การเรียนรู้ การมีส่วนร่วมทางสังคม ด้วยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาสังคมไทยได้เผชิญกับสถานการณ์ท้าทายหลายด้านทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในแต่ละสถานการณ์เราจะเห็นว่ามี เด็ก เยาวชน ขึ้นมาเป็นผู้นำรุ่นใหม่และเข้าไปมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีการถ่ายทอดความคิด แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งแต่ละครั้งจะมีรูปแบบวิธีการที่แตกต่างจากการเคลื่อนไหวในรูปแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมา การเข้ามามีส่วนร่วมทางสังคมแสดงถึงพลัง ความกล้าหาญ  ท้าทายกรอบความคิดในยุคอดีต คนรุ่นใหม่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางความคิด การแสวงหาความรู้ และการตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ของการมีส่วนร่วมทางสังคมในฐานะพลเมืองที่มีความตื่นรู้ (Active Citizen) และมีศักยภาพในการร่วมกันกำหนดทิศทางของประเทศในอนาคต ดาวโหลดไฟล์...

Continue Reading
Posted by | March 18, 2020
วันเด็กสากล “เพื่อสิทธิเด็กทุกคน”

UNICEF ปล่อยเอกสารสำคัญประมวลสถานการณ์หลังมีประกาศอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1989 กว่า 30 ปีที่ผ่านมาประชาคมโลกได้ทำตามสัญญาในการเคารพสิทธิของเด็กด้านใดบ้าง สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน https://www.unicef.org/world-childrens-day และ https://www.unicef.org/…/Convention-rights-child-at-crossro…

Continue Reading