รูปแบบการศึกษาทางเลือกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็กนอกระบบการศึกษาในสังคมไทย

รูปแบบการศึกษาทางเลือกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็กนอกระบบการศึกษาในสังคมไทย

การศึกษาทางเลือก คือ การจัดการศึกษาที่เคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะเลือกการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่ไม่ประสงค์จะเรียนในระบบการศึกษาตามปกติ เป็นการศึกษาที่มีขอบเขตกว้างขวาง มีรูปแบบหลากหลายทั้งเนื้อหา และวิธีการเรียนรู้ มุ่งตอบสนองการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์แต่ละคนที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ ความพร้อมในการเรียนรู้

 

รูปแบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมและน่าจะนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็กนอกระบบการศึกษา

  1.  บ้านเรียนหรือการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School)

บ้านเรียนเป็นการพยายามคิดค้นหาแนวทางในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะเป็นทางออก เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาที่มีอยู่ในระบบที่ไม่สามารถตอบสนองกับบริบทของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ช่วยแก้ปัญหาให้กับครอบครัวและผู้เรียนที่มีความต้องการเฉพาะ ผู้เรียนที่มีพรสวรรค์พิเศษในด้านต่าง ๆ รวมถึงผู้เรียนที่มีความบกพร่องบางด้าน มีความพิการ เจ็บป่วย ต้องการการดูแลและการจัดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล บ้านเรียนจึงเป็นพื้นที่ในการปฏิรูปการเรียนรู้ได้อย่างอิสระและหลากหลาย สามารถสร้างนวัตกรรมทางการศึกษามากมายที่มีความแตกต่างกันไปตามปรัชญา ความคิด ความเชื่อ และตามวิถีการดำเนินชีวิตของครอบครัวและผู้เรียน เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เอื้อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและความถนัดได้อย่างเต็มศักยภาพ และมีทักษะของผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

  1. ศูนย์การเรียนของสถาบันสังคม

ศูนย์การเรียนเป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถาบันสังคมที่มีศักดิ์และสิทธิ์ตามกฎหมายเช่นเดียวกับโรงเรียนของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถรองรับกลุ่มเด็กหรือผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เด็กที่ตกหล่นหรือหลุดจากระบบการศึกษา รวมถึงเด็กที่ไม่ประสงค์เรียนในระบบการศึกษาปกติแต่สนใจเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นรูปแบบการศึกษาทางเลือกที่เกิดขึ้นจากการพยายามคิดค้นหาแนวทางที่จะเป็นทางออกเพื่อแก้ปัญหาที่การศึกษาที่มีอยู่ในระบบที่ไม่สามารถตอบสนองกับบริบทของผู้เรียนที่แตกต่างทั้งในด้านความพร้อมและในด้านของวิถีชีวิต บริบทของพื้นที่ และบริบททางวิถีศาสนาและวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีลักษณะที่เป็นจุดเด่น คือ การศึกษาแบบองค์รวมที่เชื่อมโยงกับชีวิตตามบริบทผู้เรียนและบริบทพื้นที่ ๆ เป็นระบบนิเวศการเรียนรู้ที่อยู่บนฐานของวิถีชีวิต ศาสนา วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม  ใช้ปัญหาและสถานการณ์จริงเป็นโจทย์ในการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงองค์ความรู้ทั้งปัญญาอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีศักดิ์ศรีในท้องถิ่นของตนเอง

  1. ศูนย์การศึกษาบนฐานชุมชนและศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย

เมื่อระบบการศึกษากระแสหลักไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะบริบทของพื้นที่ในชนบทและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตลอดจนถึงชุมชนที่ยังต้องการให้เด็กเยาวชนเรียนรู้และสืบสานองค์ความรู้ภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นต่าง ๆ ที่เป็นรากเหง้า อัตลักษณ์ รวมถึงทักษะชีวิตบนฐานวัฒนธรรมและทักษะอาชีพที่หลากหลายที่อยู่ในชุมชน โดยที่ในชุมชนต่างๆ ก็จะมี “ครูภูมิปัญญา” ที่รู้จริง ทำจริง สืบทอดกันมาโดยมีพื้นที่ปฏิบัติการจริงที่มีความพร้อมและเห็นความสำคัญที่จะต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาและประสบการณ์ในการจัดการความรู้และทรัพยากรต่าง ๆ ของชุมชนให้กับลูกหลาน เด็กเยาวชนและผู้สนใจ      ที่จะเรียนรู้รากเหง้าของตนเองผ่านประวัติศาสตร์ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ วิถีการทำมาหากิน ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบปี

ปัจจุบันในแต่ละชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศจะมีศูนย์การศึกษาบนฐานชุมชนและศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยเกิดขึ้นมากมาย โดยเรียกชื่อแตกต่างกันไปในการจัดการศึกษาให้กับทุกกลุ่ม ทุกเพศและวัยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในบริบทของชุมชนและสังคมตามอัธยาศัย  เช่น ศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทย โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ศูนย์การศึกษาชาติพันธุ์ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชาวนา พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ศูนย์การแพทย์พื้นบ้าน ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพ ศูนย์เรียนรู้หัตถกรรมพื้นบ้าน

  1. สาธารณศึกษา (Co-Creation Education)

เป็นโครงการที่องค์กรเอกชนได้ร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ ที่สนใจให้เข้าร่วมโครงการสามารถออกแบบการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยองค์ประกอบที่สำคัญของสาธารณะศึกษานอกจากความหลากหลายแล้วคือ “พื้นที่สาธารณะ/แหล่งเรียนรู้สาธารณะ” ที่เรียกว่า “พื้นที่ทุกแห่งคือแหล่งเรียนรู้” ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวคือพื้นที่ทั้งเชิงกายภาพที่มีอยู่มากมายทุกหนทุกแห่งและพื้นที่ออนไลน์บนโลกไซเบอร์สเปซ หรือที่เรียกว่า “ภูมิทัศน์การเรียนรู้ใหม่” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่มาทดแทนสถานที่การเรียนการสอนแบบเดิม ๆ คือ ห้องเรียน โรงเรียน และในสื่อสำเร็จรูปที่โรงเรียนกำหนด


อ้างอิงจาก วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2564). การศึกษาทางเลือก. ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...