กราฟิก

Posted by | March 14, 2025
Toy pod บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบใหม่ภัยร้ายภายใต้ความน่ารัก

ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากอดีตมาก มีการออกแบบให้มีลักษณะ/รูปแบบ ที่หลากหลาย มีสีสันสวยงาม โดยอยู่ในรูปแบบรูปทรงคล้ายของใช้อุปกรณ์การเรียน ขนม อาหาร ตุ๊กตา ของเล่น การ์ตูนที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยม หรือที่เรียกว่า “ทอยพอด” ทำให้ดูน่ารัก ลดทอนความเป็นอันตรายลง สร้างแรงดึงดูดใจต่อเด็กและเยาวชน สามารถวางปะปนโดยที่แยกไม่ออกระหว่างของเล่นและบุหรี่ไฟฟ้า ยากต่อการจับและตรวจค้น อีกทั้งยังมีการพัฒนากลิ่นและรสชาติ ที่สามารถผสมผสานได้หลากหลายกลิ่นในผลิตภัณฑ์เดียว และยังมีราคาถูกหาซื้อได้ไม่ยาก . สถานการณ์วิกฤติของบุหรี่ไฟฟ้ากำลังคุกคามเด็กและเยาวชนมากขึ้น ผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังและให้ความรู้เท่าทันกับเด็ก ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันควบคุมช่องทางการจำหน่ายและโฆษณาเพื่อป้องกันการเข้าถึงของเยาวชน . หากผู้ใดพบเห็นการลักลอบผลิต ขายบุหรี่ไฟฟ้า หรือน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่...

Continue Reading
Posted by | March 10, 2025
แนะนำหนังสือน่าอ่าน : ขบวนการปราบทอยพอด โดย พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี

เรื่องราวของขบวนการปราบทอยพอด ที่ได้รับทราบข้อมูลสินค้าประหลาด “ทอยพอด” ตัวร้ายที่กำลังกระจายตัวแฝงกายปะปนไปตามของเล่นของใช้ของเด็กๆ โดยที่หลบเลี่ยงสายตาของผู้ปกครองของเด็กๆ ทีมฮีโร่จึงต้องรีบออกตามหาและปราบปรามให้ราบคาบ!! . ดาวน์โหลดฟรีได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=666 . รีวิวหนังสือ : https://youtu.be/zMcjtfl4yMc?si=vyJF0yRl3Bbtrk17

Continue Reading
Posted by | January 10, 2025
ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายเพื่อปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ 3 ฉบับ ดังนี้

1. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2557 “ห้ามนำเข้ามา ในราชอาณาจักร” ได้แก่ บารากู่ดั้งเดิม บารากู่ไฟฟ้า บุหรี่่ไฟฟ้า หากมีผู้ใดทำการฝ่าฝืนต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้านั้น หรือทั้งจำทั้งปรับและริบสินค้านั้น รวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุและพาหนะที่ใช้ในการบรรทุกสินค้านั้นด้วย . 2. คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 9/2558 : ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า”...

Continue Reading
Posted by | September 6, 2024
ความช่วยเหลือที่หลากหลาย “ราชบุรี Zero Dropout”

สภาพปัญหาที่หลากหลายในพื้นที่ที่ทำให้เกิดเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง . ดังตัวอย่าง "ราชบุรี Zero Dropout" ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดความเข็มแข็งที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการสร้างต้นแบบการช่วยเหลือดูแล กลไกความร่วมมือแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในนามของสมัชชาการศึกษา นวัตกรรมการศึกษาที่หลายหลายและมีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งมิติการศึกษา มิติสุขภาวะ และมิติสวัสดิการ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างยั่งยืน

Continue Reading
Posted by | September 6, 2024
“HEARTS model” : คุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM)

ผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่หนุนเสริมโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ไปต่อในระบบการศึกษา หรือทางสายอาชีพ หรืออื่น ๆ ที่เด็กและเยาวชนพึงประสงค์ . แล้วคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) ควรมีลักษณะแบบใด . คุณลักษณะที่ได้จากการถอดบทเรียนผ่านการสัมภาษณ์และการใช้เวลาร่วมกับ CM ในการดำเนินงาน ทำให้สามารถสรุปคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณีที่มีร่วมกัน เป็น “HEARTS model” และสิ่งสำคัญของคนทำงานในฐานะผู้จัดการรายกรณี คือ “การมีใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดภายใต้การทำงานของ CM

Continue Reading
Posted by | September 6, 2024
สามเรือนโมเดล ตำบลสามเรือน จังหวัดราชบุรี

เปิดเผยกลไกการค้นหาและส่งต่อความช่วยเหลือสำหรับเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืนแบบล่างสู่บน โดยมีกลไก อสม./อพม. เป็นเสมือนกล้องวงจรปิดในระดับหมู่บ้านเพื่อค้นหา คัดกรอง และส่งต่อข้อมูลของเด็กเยาวชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือไปยังครู ศกร.ตำบล แล้วจึงส่งต่อหรือประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานหรือองค์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือทั้ง 3 มิติ คือ ด้านสุขภาวะ ด้านสวัสดิการ และด้านการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กเยาวชนเป็นรายบุคคลต่อไป . #CYD #กสศ #สกร #กศน #ราชบุรี

Continue Reading
Posted by | September 6, 2024
การศึกษาแบบ“แพเล็ก” (PARELEK Model)

การศึกษาในกระแสหลักเปรียบได้ดั่งการเดินทางบนทะเลการศึกษาด้วยเรือใหญ่ที่มีโครงสร้างแน่นหนามั่นคงแต่การเดินทางวิธีนี้ต้องมีต้นทุนการศึกษาที่ทำให้ผู้เรียน "มีความพร้อม" ทั้งทรัพย์พร้อม ครอบครัวพร้อม และใจพร้อม แต่ทุกคนไม่ได้มีความพร้อมเท่าเทียมกันจึงต้องมีการศึกษาทางเลือกรูปแบบอื่น . เรือการศึกษาที่มีขนาดเล็กลงมาหน่อยเป็นเรือที่ออกแบบมาเพื่อ “คนไม่พร้อม” ไม่ต้องใช้ต้นทุนมากและมีความยืดหยุ่นด้านเวลาและวิธีการจัดการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับการหารายได้ระหว่างเรียนหรือใช้เวลาไปกับกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันได้ เช่น การจัดการศึกษาระบบ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ เป็นต้น แต่เรือลำนี้ก็ยังมีโครงสร้างที่ออกแบบตามระบบโรงเรียนซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์ของผู้เรียนบางกลุ่มได้ . การศึกษาแบบ “แพเล็ก” (PARELEK)จึงเป็นการจัดการศึกษาที่ต่อยอดจากการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนซึ่งผู้เรียนสามารถออกแบบรูปแบบ และเวลาในการเรียนของตนเองได้ เสมือนการต่อแพที่ประกอบด้วยขอนไม้องค์ประกอบที่สำคัญจำเป็นต่อการพยุงผู้เรียนที่ “ไม่พร้อม” กับการเรียนในระบบการศึกษา ให้สามารถเดินทางไปบนเส้นทางการศึกษาจนสำเร็จถึงฝั่งได้

Continue Reading
Posted by | September 6, 2024
แนวทางการช่วยเหลือเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา

ถอดรหัสกลไกการช่วยเหลือเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษากลุ่มอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปให้กลับสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาจังหวัดราชบุรีซึ่งขับเคลื่อนผ่านแกนนำสำคัญคือ ครู ศกร.ตำบลและแกนนำสมาชิกภาคประชาสังคมในการคัดกรอง และวินิจฉัยความต้องการของเด็กเยาวชนรวมถึงเจตคติในการศึกษาต่อก่อนส่งต่อไปยังกลไกย่อย 3 เส้นทางเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมกับสภาพบริบทและความต้องการของเด็กและเยาวชนรายบุคคล

Continue Reading
Posted by | September 6, 2024
ประเภทเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา

ผลการศึกษาสภาพปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ภายใต้การดำเนินโครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) . พบว่าเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาต้องเผชิญกับสภาพปัญหาที่หลากหลายทั้ง 29 ประเด็น จนเป็นเหตุให้ต้องออกจากระบบการศึกษา โดยสามารถจำแนกเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาตามประเด็นปัญหา ได้ 8 กลุ่ม ประกอบด้วย . 1) กลุ่มเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย 2) กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยในโรงเรียน/พฤติกรรมเสี่ยงต่อการหลุดจากระบบการศึกษา 3) กลุ่มเด็กที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 4) กลุ่มแรงงานนอกระบบ/แรงงานเคลื่อนย้าย 5) กลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาวะ 6) กลุ่มเด็กที่ประสบปัญหาครอบครัว 7)...

Continue Reading