บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าประชากรส่วนใหญ่
แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์
มาจากบรรพบุรุษเดียวกัน
ในทุกๆด้านอย่างใกล้ชิด
เครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชน
ภาคเหนือ: เชียงราย, เชียงใหม่, พิษณุโลก, น่าน / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ศรีสะเกษ,อุบลราชธานี, นครพนม, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์ / ภาคกลาง และภาคตะวันออก: กรุงเทพมหานคร, ระยอง, กาญจนบุรี / ภาคใต้: ยะลา, ปัตตานี
ประเด็นร้อน
-
การเป็นพี่เลี้ยงจากครูนอกระบบ (Coaching & Mentoring)
-
การศึกษาทางเลือกกับบทบาทพ่อแม่และครูในการจัดการเรียนรู้เด็กในศตวรรษที่ 21
-
การพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด สกลนคร และอุบลราชธานี
-
เมื่อวันที่ 10-11 มิถุนายน 2565 ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ รศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา และ อ.ดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ลงพื้นที่ติดตามโครงการศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาพวิกฤตทางการศึกษา จังหวัดขอนแก่น
-
ประเด็นเด็ก เด็ดจากหนัง : Witch at Court
-
ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ได้แสดงทัศนะ จากกรณี “เด็กอายุ 14 ปี ตัดสินใจฆ่าตัวตาย”
-
เสียงสะท้อนจากเยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษาที่มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ “คิดเห็นอย่างไรกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในครั้งนี้”
-
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ได้สำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาที่มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
ปฏิทินกิจกรรม
“ปรับเรียนเปลี่ยนรู้” ครั้งที่ 3 “บทบาทชุมชนกับการสนับสนุนการเรียนรุ้ของเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤต”
เมื่อการศึกษาในภาวะวิกฤตไม่ควรถูกมอบอำนาจให้โรงเรียนเป็นผู้จัดการแต่เพียงฝ่ายเดียว ชุมชนจึงเป็นอีกหนึ่งกลไกในการดูแลการศึกษาของเด็กและเยาวชนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ “บทบาทชุมชนกับการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤต” คือ หัวข้อในการพูดคุยกันใน Webinar “ปรับเรียนเปลี่ยนรู้” ครั้งที่ 3 ในวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30-15.30 น. ผ่านโปรแกรม Zoom Webinar ID 896 8325 2915 และไลฟ์ผ่านเฟซบุกเพจ “สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน” เวทีนี้มีผู้เข้าร่วมจากหลากหลายบทบาท ทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ตัวแทนจากองค์กรที่ทำงานด้านการศึกษาบนฐานชุมชน และตัวแทนจากองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันกับผู้ฟังแบบเรียลไทม์ เพื่อให้เกิดมุมมองการสร้างกลไกการจัดการศึกษาที่ทุกคนต่างก็ร่วมกันเป็นเจ้าของ
คลังความรู้
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ ดังนั้นกระบวนการส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กนอกระบบกาศึกษาจึงควรออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับความต้องการของเด็กนอกระบบการศึกษาแต่ละกลุ่ม อ่านฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/251625/174254
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนให้เด็ก การติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนให้เด็ก สามารถอ่านได้ที่ลิ้งด้านล่าง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HatyaiAcademicJournal/article/view/248440/172993