งานวิจัย

Posted by | December 14, 2021
แนะนำหนังสือ “ก่อน” พระอาทิตย์ตกดิน (Before the sunset)

หนังสือ “ก่อน” พระอาทิตย์ตกดิน (Before the sunset) เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการภายใต้โครงการประสานงานเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) นำเสนอเรื่องราวชีวิตจริงของเด็กนอกระบบการศึกษาที่เกิดจากประเด็นปัญหาที่ปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน เรื่องราวเล่านี้เป็นเพียงตัวแทนของเด็กและเยาวชนอีกกว่า 25,000 ชีวิตที่มีความฝัน ความหวัง และความต้องการอนาคตที่ดีเพื่อตนเองและครอบครัว บางคนใช้โอกาสที่ได้รับในครั้งนี้เปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ถูกแปรเปลี่ยนเส้นทางชีวิตใหม่ ทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงรูปธรรมผ่านการเข้าไปสนับสนุนเด้กและเยาวชนแบบรายบุคคลและกลุ่ม อ่านและดาวน์โหลดทั้งหมด

Continue Reading
Posted by | November 29, 2021
บทความ “Node: หน่วยประสานเครือข่ายงานด้านการพัฒนาสังคมใน มุมมองทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำการ”

บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออรรถาธิบายความเป็นมาของ node หน่วยประสานเครือข่ายงานด้านการ พัฒนาสังคมในประเทศไทยและอภิปรายใน 3 ประเด็น คือ1. บทบาทและรูปแบบการทำงาน 2.องค์ประกอบด้าน คุณลักษณะของ node ประกอบด้วยคุณลักษณะด้านความรู้ทักษะ และเจตคติต่อการททำงานพัฒนาสังคม และ 3. ความสัมพันธ์ของnode กับงานพัฒนาสังคมตามทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำการ ผลการถอดบทเรียนการทำงาน ของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน พบว่า1.node มีบทบาทเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมโดยมีรูปแบบการททำงานแบบประสานความร่วมมือกับองค์กรทางสังคม 2.node ต้องมีคุณลักษณะด้าน ความรู้ที่หลากหลายทั้งกว้างและลึกเชิงประเด็น มีทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วม และมีอุดมการณ์ ในการทำงานเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ และ...

Continue Reading
Posted by | November 26, 2021
บทความ “แนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมือง : การเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของประเทศไทย สาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์”

บทคัดย่อ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของแนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมืองของประเทศไทย สาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์ โดยใช้การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารข้อมูลเชิงนโยบายของภาครัฐและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะ 3 แหล่ง ได้แก่ 1) แผนพัฒนาเยาวชนแห่งชาติของสาธารณรัฐเอสโตเนีย ปี 2014-2020 2) เอกสารวิจัยของสภาเยาวชนแห่งชาติสิงคโปร์และแผนปฏิบัติการเยาวชนสิงคโปร์ และ 3) รายงานการศึกษาการส่งเสริมกระบวนการทางความคิดเด็กและเยาวชนสู่ประเทศไทย 4.0 โดยสังเคราะห์ในประเด็นแนวทางเชิงนโยบาย วิธีการพัฒนาเยาวชนเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง และแนวทางการส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโต ผลการศึกษาพบว่าในสาธารณรัฐเอสโตเนีย สิงคโปร์ และไทย มีความคล้ายคลึงกันในด้านวิธีการกำหนดนโยบายการพัฒนาเยาวชนและการสนับสนุนงบประมาณการทำงานให้กับเยาวชนโดยตรงผ่านช่องทางต่าง ๆ แต่มีความแตกต่างกันในด้านแนวคิดและวิธีการทำงานพัฒนาเยาวชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน และการสร้างนิเวศวัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับเยาวชนที่สอดคล้องกับกรอบความคิดแบบเติบโต สามารถอ่านได้ที่ลิ้งด้านล่าง...

Continue Reading
Posted by | November 18, 2021
ไฟล์นำเสนอเวทีบทเรียนและความท้าทายของการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา วันที่ 18 พ.ย. 64

. ดาวน์โหลดเอกสารประกอบงานเวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 3

Continue Reading
Posted by | July 29, 2021
ระบบสนับสนุนและพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา

เนื้อหาในหนังสือระบบสนับสนุนและพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา แบ่งตามประเภทเด็กนอก ระบบการศึกษาที่ทางโครงการได้พบเจอเป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วย 6 ประเภท ได้แก่ 1) เด็กในกระบวนการ ยุติธรรม 2) เด็กพิการในชุมชน 3) เด็กชาติพันธุ์ 4) เด็กไร้สัญชาติและลูกหลานแรงงานต่างด้าว 5) เด็กมุสลิมใน พื้นที่ต่าง ๆ และในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 6) เด็กยากจนในชุมชน คลิกเพื่อดาวน์โหลด

Continue Reading
Posted by | July 14, 2021
การพัฒนาและสนับสนุนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา: ข้อเสนอสู่พื้นที่และนโยบาย

หนังสือเรื่องการพัฒนาและสนับสนุนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา: ข้อเสนอสู่พื้นที่และนโยบาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการภายใต้โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอสาระสำคัญในเชิงข้อเสนอแนะสำหรับผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงาน องค์กรที่ดูแลเด็กนอกระบบการศึกษาและข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐในการสนับสนุนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา สาระสำคัญของหนังสือนี้ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลจากการติดตามผลการดำเนินการของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ปีการศึกษา 2563 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ทั้งทางเอกสารการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การลงพื้นที่ที่ดำเนินการของโครงการ และการจัดเวทีถอดบทเรียนร่วมกับทุกโครงการดังกล่าว ทำให้ได้ข้อเสนอแนะและข้อเสนอเชิงนโยบายที่มาจากการทำงานในพื้นที่จริงและสถานการณ์จริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงาน องค์กรที่ดูแลเด็กนอกระบบการศึกษา และภาครัฐที่จะนำไปเป็นแนวทางหรือแนวนโยบายเพื่อช่วยกันในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบการศึกษา โดยพัฒนาระบบการค้นหาเฝ้าระวัง ติดตาม และช่วยเหลือเด็กให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ติดตาม ช่วยเหลือเด็กนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าศึกษาต่อหรือได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ รวมทั้งป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษา คลิกเพื่อดาวน์โหลด

Continue Reading
Posted by | June 25, 2021
บทความพิเศษ อัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศของนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทย

บทความนี้ได้ศึกษาการใช้พื้นที่การแข่งขันเต้นของกลุ่มนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทย ในการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ LGBT และอำนาจต่อรองอัตลักษณ์ของกลุ่มนักเต้น โดยในงานศึกษานี้ได้ใช้แนวคิด อัตลักษณ์ทางเพศมาใช้ใน การวิเคราะห์ภายใต้องค์ประกอบสำคัญ เช่น การแต่งกาย ท่าเต้น การแสดงออก กับนักเต้นในทีมและผู้ชม ผู้วิจัยยังได้ใช้แนวคิดในเรื่อง “ชีวอำนาจ” (Biopower) ในการวิเคราะห์อำนาจในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ทางเพศในพื้นที่การเต้น Cover Dance จากการวิเคราะห์อัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศของนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทยนี้ ได้ต่อยอดความคิดจากงานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารกับการประกอบสร้างอัตลักษณ์กลุ่มวัฒนธรรมย่อยของนักเต้น Cover Dance” เพื่อหารูปแบบการประกอบสร้างอัตลักษณ์ชุดใหม่ในพื้นที่การเต้น Cover Dance โดยค้นพบว่ากลุ่ม...

Continue Reading
Posted by | March 23, 2021
บทความพิเศษ เด็ก เยาวชน พลเมือง ประชาธิปไตยแบบเสมือน

วารสารพัฒนศาสตร์ ได้รวบรวมบทความในประเด็นของ ผู้นำรุ่นใหม่ สิทธิ การเรียนรู้ การมีส่วนร่วมทางสังคม ด้วยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาสังคมไทยได้เผชิญกับสถานการณ์ท้าทายหลายด้านทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในแต่ละสถานการณ์เราจะเห็นว่ามี เด็ก เยาวชน ขึ้นมาเป็นผู้นำรุ่นใหม่และเข้าไปมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีการถ่ายทอดความคิด แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งแต่ละครั้งจะมีรูปแบบวิธีการที่แตกต่างจากการเคลื่อนไหวในรูปแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมา การเข้ามามีส่วนร่วมทางสังคมแสดงถึงพลัง ความกล้าหาญ  ท้าทายกรอบความคิดในยุคอดีต คนรุ่นใหม่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางความคิด การแสวงหาความรู้ และการตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ของการมีส่วนร่วมทางสังคมในฐานะพลเมืองที่มีความตื่นรู้ (Active Citizen) และมีศักยภาพในการร่วมกันกำหนดทิศทางของประเทศในอนาคต ดาวโหลดไฟล์...

Continue Reading