ปฐมพยาบาลหัวใจให้เด็กนอกระบบ

ปฐมพยาบาลหัวใจให้เด็กนอกระบบ

ผู้เขียน : กชวร จุ๋ยมณี


เด็กนอกระบบนอกจากนอกจากจะขาดโอกาสที่เท่าเทียมในการศึกษาและประกอบอาชีพแล้ว หลายคนยังมีความเสี่ยงที่จะถูกล่วงละเมิด (Abuse) ทั้งทางร่างกาย จิตใจและทางเพศ บางคนถูกกลั่นแกล้ง (Bully) ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน จนเกิดความเครียด นำไปสู่ความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีคุณครูนอกระบบบางคนเคยเปรยกับผู้เขียนว่า อยากช่วยเด็ก ๆ เมื่อประสบความทุกข์ยาก จะทำอย่างไรดี?

หนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุด เป็นวิธีปฐมพยาบาลที่ช่วยดูแลหัวใจที่บอบช้ำของเด็กนอกระบบ (รวมทั้งมนุษย์ทุกคน) คือ การฟังด้วยหัวใจ เป็น “การฟังอย่างลึกซึ้ง” (Deep Listening) ที่เปรียบเสมือนกุญแจที่จะเข้าถึงใจของผู้ที่เราสนทนาด้วย การฟังนั้นต้องอาศัยประสาทสัมผัสหลายส่วน ได้แก่ การรับฟังถ้อยคำและน้ำเสียงผ่านหู การสังเกตภาษากายสีหน้าท่าทางผ่านการมองเห็น การใช้หัวใจในการรับรู้ด้วยความเข้าอกเข้าใจ (Empathic Understanding) ซึ่งเป็นการตระหนักและเข้าใจถึงความคิด อารมณ์ความรู้สึกของคู่สนทนา ด้วยการเปิดใจกว้าง เห็นโลกตามมุมมองและเงื่อนไขชีวิตของคู่ โดยไม่ตัดสินตามความคิดความเชื่อของตน แต่จะสอบทาน และพยายามเข้าถึงที่มาของความคิด ความเชื่อ แรงจูงใจ ความทุกข์ใจและความรู้สึกอื่น ๆ รวมถึงความสามารถที่จะบ่งบอกถึงอารมณ์ความรู้สึกของคู่สนทนาได้ โดยการรับฟังนั้นต้องมีสติ มุ่งความสนใจที่มีทั้งหมดไปยังบุคคลที่ตนเองกำลังรับฟัง ไม่อาจแบ่งแยก ย้อนไปในอดีต หรือพุ่งไปยังอนาคต หรือไปอยู่กับคนหรือสถานที่อื่นใดได้ ดังนั้นหากเราฟังได้อย่างลึกซึ้ง Dr. Theodor Reik นักจิตวิเคราะห์กล่าวว่า หูที่สามของเราจะเปิด เราจะได้ยินความในใจแม้คู่สนทนาของเราไม่ได้เอ่ยเป็นคำพูดออกมา

อย่างไรก็ตามการรับสารขาเข้าอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ การส่งสารกลับไปให้คู่สนทนารับรู้ถึงการฟังของคุณครูก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ครูนอกระบบจึงควรแสดงการตอบรับการได้ยินนั้นด้วยการฟังเชิงรุก (Active Listening) คือ การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคู่สนทนาอย่างมีสติและสมาธิ จากการสังเกตภาษากายและภาษาพูดของคู่สนทนา และตอบรับการได้ยินนั้นด้วยการแสดงภาษากายของตน เช่น การสบตา สีหน้า ท่าทาง รวมทั้งคำพูดที่แสดงออกด้วยความเข้าอกเข้าใจ ผ่านการสรุปความ การสะท้อนความหมายและความรู้สึก การถาม รวมทั้งการให้กำลังใจและแนวทางอย่างเหมาะสม เป็นต้น

นอกจากนี้การแสดงออกถึงความเมตตา (Compassion) นั่นคือ ความรู้สึกสนใจต่อความต้องการของคู่สนทนา แสดงความใส่ใจ ห่วงใย ความปรารถนาดีให้คู่สนทนาของคุณครูให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่คาดหวังค่าตอบแทน จะช่วยให้คุณครูมีทักษะการฟังเชิงรุก (Active Listening) และแสดงออกถึงความเข้าอกเข้าใจ (Empathic Understanding) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยสรุปแล้ว การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการตามหลัก ACE นั่นคือ A (Active Listening) E (Empathic Understanding) และ C (Compassion) ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถในการปฐมพยาบาลหัวใจให้เด็กนอกระบบ รวมทั้งผู้คนที่อยู่ในชีวิตของคุณครูด้วย


อ้างอิง

Safran, J. D. (2011). Theodor Reik’s Listening With the Third Ear and the Role of Self-Analysis in Contemporary

Psychoanalytic Thinking. The Psychoanalytic Review98(2), 205-216.

Singer, T., & Klimecki, O. M. (2014). Empathy and compassion. Current Biology, 24(18), R875-R878.

กชวร จุ๋ยมณี. 6 กรกฎาคม 2562. ฟังทำไมและอย่างไร (1)https://www.thebangkokinsight.com/news/columnists/172191/

กชวร จุ๋ยมณี. 10 สิงหาคม 2562. ฟังทำไมและอย่างไร (2).https://www.thebangkokinsight.com/news/columnists/189915/

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...