บทความ “แนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมือง : การเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของประเทศไทย สาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์”

บทความ “แนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมือง : การเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของประเทศไทย สาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์”

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของแนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมืองของประเทศไทย สาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์ โดยใช้การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารข้อมูลเชิงนโยบายของภาครัฐและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะ 3 แหล่ง ได้แก่ 1) แผนพัฒนาเยาวชนแห่งชาติของสาธารณรัฐเอสโตเนีย ปี 2014-2020 2) เอกสารวิจัยของสภาเยาวชนแห่งชาติสิงคโปร์และแผนปฏิบัติการเยาวชนสิงคโปร์ และ 3) รายงานการศึกษาการส่งเสริมกระบวนการทางความคิดเด็กและเยาวชนสู่ประเทศไทย 4.0 โดยสังเคราะห์ในประเด็นแนวทางเชิงนโยบาย วิธีการพัฒนาเยาวชนเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง และแนวทางการส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโต ผลการศึกษาพบว่าในสาธารณรัฐเอสโตเนีย สิงคโปร์ และไทย มีความคล้ายคลึงกันในด้านวิธีการกำหนดนโยบายการพัฒนาเยาวชนและการสนับสนุนงบประมาณการทำงานให้กับเยาวชนโดยตรงผ่านช่องทางต่าง ๆ แต่มีความแตกต่างกันในด้านแนวคิดและวิธีการทำงานพัฒนาเยาวชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน และการสร้างนิเวศวัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับเยาวชนที่สอดคล้องกับกรอบความคิดแบบเติบโต

สามารถอ่านได้ที่ลิ้งด้านล่าง
.
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/242098

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...