กราฟิก

Posted by | September 6, 2024
การศึกษาแบบ“แพเล็ก” (PARELEK Model)

การศึกษาในกระแสหลักเปรียบได้ดั่งการเดินทางบนทะเลการศึกษาด้วยเรือใหญ่ที่มีโครงสร้างแน่นหนามั่นคงแต่การเดินทางวิธีนี้ต้องมีต้นทุนการศึกษาที่ทำให้ผู้เรียน "มีความพร้อม" ทั้งทรัพย์พร้อม ครอบครัวพร้อม และใจพร้อม แต่ทุกคนไม่ได้มีความพร้อมเท่าเทียมกันจึงต้องมีการศึกษาทางเลือกรูปแบบอื่น . เรือการศึกษาที่มีขนาดเล็กลงมาหน่อยเป็นเรือที่ออกแบบมาเพื่อ “คนไม่พร้อม” ไม่ต้องใช้ต้นทุนมากและมีความยืดหยุ่นด้านเวลาและวิธีการจัดการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับการหารายได้ระหว่างเรียนหรือใช้เวลาไปกับกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันได้ เช่น การจัดการศึกษาระบบ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ เป็นต้น แต่เรือลำนี้ก็ยังมีโครงสร้างที่ออกแบบตามระบบโรงเรียนซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์ของผู้เรียนบางกลุ่มได้ . การศึกษาแบบ “แพเล็ก” (PARELEK)จึงเป็นการจัดการศึกษาที่ต่อยอดจากการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนซึ่งผู้เรียนสามารถออกแบบรูปแบบ และเวลาในการเรียนของตนเองได้ เสมือนการต่อแพที่ประกอบด้วยขอนไม้องค์ประกอบที่สำคัญจำเป็นต่อการพยุงผู้เรียนที่ “ไม่พร้อม” กับการเรียนในระบบการศึกษา ให้สามารถเดินทางไปบนเส้นทางการศึกษาจนสำเร็จถึงฝั่งได้

Continue Reading
Posted by | September 6, 2024
แนวทางการช่วยเหลือเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา

ถอดรหัสกลไกการช่วยเหลือเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษากลุ่มอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปให้กลับสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาจังหวัดราชบุรีซึ่งขับเคลื่อนผ่านแกนนำสำคัญคือ ครู ศกร.ตำบลและแกนนำสมาชิกภาคประชาสังคมในการคัดกรอง และวินิจฉัยความต้องการของเด็กเยาวชนรวมถึงเจตคติในการศึกษาต่อก่อนส่งต่อไปยังกลไกย่อย 3 เส้นทางเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมกับสภาพบริบทและความต้องการของเด็กและเยาวชนรายบุคคล

Continue Reading
Posted by | September 6, 2024
ประเภทเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา

ผลการศึกษาสภาพปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ภายใต้การดำเนินโครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) . พบว่าเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาต้องเผชิญกับสภาพปัญหาที่หลากหลายทั้ง 29 ประเด็น จนเป็นเหตุให้ต้องออกจากระบบการศึกษา โดยสามารถจำแนกเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาตามประเด็นปัญหา ได้ 8 กลุ่ม ประกอบด้วย . 1) กลุ่มเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย 2) กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยในโรงเรียน/พฤติกรรมเสี่ยงต่อการหลุดจากระบบการศึกษา 3) กลุ่มเด็กที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา 4) กลุ่มแรงงานนอกระบบ/แรงงานเคลื่อนย้าย 5) กลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาวะ 6) กลุ่มเด็กที่ประสบปัญหาครอบครัว 7)...

Continue Reading
Posted by | July 12, 2024
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ให้จัดทำโครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

. 1) รวบรวมองค์ความรู้ บทเรียน ข้อค้นพบ การช่วยเหลือเด็กเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาและจัดทำรูปแบบ/แนวทางการช่วยเหลือเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา (แต่ละกลุ่ม) ครอบคลุมมิติการศึกษา สุขภาพ และสังคม 2) ถอดบทเรียนกลไกอาสาสมัครในการช่วยเหลือเด็กเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ได้แก่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านสวัสดิการสังคม และมิติด้านการสาธารณสุข และจัดทำข้อมูลเพื่อสื่อสารขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 3 สื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในสังคม และขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา อย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) ....

Continue Reading
Posted by | July 18, 2022
“ตัวอย่างกิจกรรมการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กด้อยโอกาส”

. กิจกรรมการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กด้อยโอกาสเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่นสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ และบริบทของเด็ก เป็นกิจกรรมทีรมีทั้งความรู้ของการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาสายสามัญ ความรู้ที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคม และกิจกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจ การเห็นคุณค่าในตนเอง . อ้างอิง: วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. “การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ” รวมบทความวิชาการ การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2565. . ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chulabook.com/th/product-details/146996

Continue Reading
Posted by | July 18, 2022
“ขั้นตอนการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กด้อยโอกาส”

. การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กด้อยโอกาส ผู้จัดการศึกษาต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติและความต้องการของเด็ก และพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินที่สอดคล้องกับเด็กทั้งรายบุคคลหรือรายกลุ่ม . อ้างอิง: วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. “การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ” รวมบทความวิชาการ การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2565. . ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chulabook.com/th/product-details/146996

Continue Reading
Posted by | July 18, 2022
“การจัดการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กด้อยโอกาส”

. การจัดการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กด้อยโอกาสเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษานอกระบบในทุกรูปแบบตามความสามารถ ศักยภาพ และบริบทของเด็กแต่ละบุคคลต่อไป ทั้งการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะอาชีพ และการพัฒนาทักษะชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ และสังคมของเด็กด้อยโอกาส . อ้างอิง: วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. “การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ” รวมบทความวิชาการ การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2565. . ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chulabook.com/th/product-details/146996

Continue Reading
Posted by | June 13, 2022
บทบาทของโรงเรียนในการดูแลและช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศ

วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีอารมณ์รุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลต่อการแสดงออกที่เปลี่ยนแปลงไปจากวัยเด็ก รวมถึงอยู่ในช่วงของค้นหาตนเอง วัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศจึงต้องการความเข้าใจและการสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อน และครู ในขณะเดียวกันวัยรุ่นใช้เวลาในแต่ละวันที่โรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น บทบาทของโรงเรียนและครูจึงเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมวัยรุ่น ที่มีความหลากหลายทางเพศให้มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น . ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.ดร.ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ อ.ดร.ชนัญชิดา ทุมมานนท์ น.ส.ชุติมณฑน์ คล้ายแก้ว และน.ส.กรผกา พัฒนกำพล ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sjss/article/view/252048

Continue Reading
Posted by | June 9, 2022
บทบาทของครอบครัวในการดูแลและช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศ

. วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีอารมณ์แปรปรวน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลต่อการแสดงออกที่เปลี่ยนแปลงไปจากวัยเด็ก รวมถึงอยู่ในช่วงของการค้นหาตนเอง ด้วยเหตุนี้ วัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศจึงต้องการความเข้าใจและการสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อน และครู บทบาทของสมาชิกในครอบครัวจึงเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศให้มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น . ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.ดร.ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ อ.ดร.ชนัญชิดา ทุมมานนท์ น.ส.ชุติมณฑน์ คล้ายแก้ว และน.ส.กรผกา พัฒนกำพล ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sjss/article/view/25

Continue Reading
Posted by | June 8, 2022
ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างรุ่น : “ผู้สูงอายุ” กับการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ “เด็กนอกระบบการศึกษา”

บทบาทสำคัญของผู้สูงอายุอีกประการหนึ่งคือการส่งเสริมการเรียนรู้แก่ประชากรต่างรุ่น ได้แก่ วัยก่อนเรียน วัยเรียน และวัยทำงาน อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณากลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่เป็น “เด็กนอกระบบการศึกษา” แล้ว จะพบว่าเด็กนอกระบบนั้นส่วนมากแล้วจะเป็นวัยก่อนเรียน และวัยเรียน ดังนั้นบทบาทของผู้สูงอายุในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กลุ่มดังกล่าวสามารถกระทำได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ บทบาทของผู้สูงอายุในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่วัยก่อนเรียน การส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่วัยก่อนเรียนของผู้สูงอายุ โดยส่วนมากแล้วจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยบทบาทของผู้สูงอายุมีดังนี้ เป็นแบบอย่าง / ตัวอย่างในการดำเนินชีวิต การเป็นเป็น หมายถึง ผู้สูงอายุแสดงให้เด็กเข้าใจ โดยใช้วิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น การสอนให้รู้จักระเบียบวินัย รักษาความสะอาด วางสิ่งของให้เป็นที่เป็นทาง ฯลฯ เป็นภูมิปัญญา ผู้สูงอายุในฐานะที่มีความรู้และประสบการณ์มาก่อน จะเป็นองค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่สำหรับเด็ก...

Continue Reading