คลิกเพื่อดาวน์โหลด
หนังสือ เรื่องเล่าจากพื้นที่เกิดขึ้นภายใต้ โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการนำเสนอเรื่องราวการทำงานในพื้นที่ของตนเอง ทั้งจุดเด่น เอกลักษณ์ กระบวนการ ตลอดจนอุปสรรคในการช่วยเหลือครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ผ่านเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน โดยประกอบด้วย 10 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการ Young kids 6 Part 2) โครงการพัฒนาครูและเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) โครงการการพัฒนาศักยภาพด้านการใช้สื่อออนไลน์ สำหรับจัดกระบวนการเรียนรู้บนฐานนิเวศวัฒนธรรมชุมชน เพื่อสร้างอาชีพเกี่ยวกับอาหารและสมุนไพร 4)...
หนังสือเรื่องการพัฒนาและสนับสนุนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา: ข้อเสนอสู่พื้นที่และนโยบาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการภายใต้โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอสาระสำคัญในเชิงข้อเสนอแนะสำหรับผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงาน องค์กรที่ดูแลเด็กนอกระบบการศึกษาและข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐในการสนับสนุนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา สาระสำคัญของหนังสือนี้ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลจากการติดตามผลการดำเนินการของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ปีการศึกษา 2563 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ทั้งทางเอกสารการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การลงพื้นที่ที่ดำเนินการของโครงการ และการจัดเวทีถอดบทเรียนร่วมกับทุกโครงการดังกล่าว ทำให้ได้ข้อเสนอแนะและข้อเสนอเชิงนโยบายที่มาจากการทำงานในพื้นที่จริงและสถานการณ์จริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงาน องค์กรที่ดูแลเด็กนอกระบบการศึกษา และภาครัฐที่จะนำไปเป็นแนวทางหรือแนวนโยบายเพื่อช่วยกันในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบการศึกษา โดยพัฒนาระบบการค้นหาเฝ้าระวัง ติดตาม และช่วยเหลือเด็กให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ติดตาม ช่วยเหลือเด็กนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าศึกษาต่อหรือได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ รวมทั้งป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษา คลิกเพื่อดาวน์โหลด
หนังสือชุดความรู้การวางแผนและการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา เกิดขึ้นภายใต้ “โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ทั้งนี้ โครงการมีเป้าประสงค์เพื่อสร้างและเสนอกลไกในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตของเด็กนอกระบบการศึกษาควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพครูนอกระบบการศึกษาที่ดูแลกลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์หนึ่ง คือ การสนับสนุนและติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุน โดย การจัดทำชุดความรู้เพื่อสนับสนุนการทำงานของครูนอกระบบการศึกษา หนังสือชุดความรู้นี้เกิดขึ้นจากผลการสำรวจความต้องการและการลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการทำงานด้านองค์ความรู้ของครูนอกระบบการศึกษาในโครงการจำนวน 19 โครงการ และพัฒนาเป็นชุดความรู้เพื่อสนับสนุนการทำงานของครูและเด็กนอกระบบการศึกษาขึ้น ทั้งนี้ หนังสือชุดความรู้มีจำนวนทั้งสิ้น 3 เล่ม ประกอบด้วย ชุดความรู้ที่ 1 หลักการและกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลเด็กนอกระบบการศึกษา คลิกเพื่อดาวน์โหลด ชุดความรู้ที่ 2...
บทความนี้ได้ศึกษาการใช้พื้นที่การแข่งขันเต้นของกลุ่มนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทย ในการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ LGBT และอำนาจต่อรองอัตลักษณ์ของกลุ่มนักเต้น โดยในงานศึกษานี้ได้ใช้แนวคิด อัตลักษณ์ทางเพศมาใช้ใน การวิเคราะห์ภายใต้องค์ประกอบสำคัญ เช่น การแต่งกาย ท่าเต้น การแสดงออก กับนักเต้นในทีมและผู้ชม ผู้วิจัยยังได้ใช้แนวคิดในเรื่อง “ชีวอำนาจ” (Biopower) ในการวิเคราะห์อำนาจในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ทางเพศในพื้นที่การเต้น Cover Dance จากการวิเคราะห์อัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศของนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทยนี้ ได้ต่อยอดความคิดจากงานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารกับการประกอบสร้างอัตลักษณ์กลุ่มวัฒนธรรมย่อยของนักเต้น Cover Dance” เพื่อหารูปแบบการประกอบสร้างอัตลักษณ์ชุดใหม่ในพื้นที่การเต้น Cover Dance โดยค้นพบว่ากลุ่ม...
วารสารพัฒนศาสตร์ ได้รวบรวมบทความในประเด็นของ ผู้นำรุ่นใหม่ สิทธิ การเรียนรู้ การมีส่วนร่วมทางสังคม ด้วยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาสังคมไทยได้เผชิญกับสถานการณ์ท้าทายหลายด้านทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในแต่ละสถานการณ์เราจะเห็นว่ามี เด็ก เยาวชน ขึ้นมาเป็นผู้นำรุ่นใหม่และเข้าไปมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีการถ่ายทอดความคิด แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งแต่ละครั้งจะมีรูปแบบวิธีการที่แตกต่างจากการเคลื่อนไหวในรูปแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมา การเข้ามามีส่วนร่วมทางสังคมแสดงถึงพลัง ความกล้าหาญ ท้าทายกรอบความคิดในยุคอดีต คนรุ่นใหม่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางความคิด การแสวงหาความรู้ และการตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ของการมีส่วนร่วมทางสังคมในฐานะพลเมืองที่มีความตื่นรู้ (Active Citizen) และมีศักยภาพในการร่วมกันกำหนดทิศทางของประเทศในอนาคต ดาวโหลดไฟล์...
บันทึกองค์ความรู้และบทเรียนการทำงานพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ ขอบคุณข้อมูลจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา