เมื่อวันที่ 10-11 มิถุนายน 2565 ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ รศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา และ อ.ดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ลงพื้นที่ติดตามโครงการศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาพวิกฤตทางการศึกษา จังหวัดขอนแก่น

เมื่อวันที่ 10-11 มิถุนายน 2565 ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ รศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา และ อ.ดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ลงพื้นที่ติดตามโครงการศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาพวิกฤตทางการศึกษา จังหวัดขอนแก่น

.
การลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้ได้เห็นกลไกการขับเคลื่อนที่เป็นการบูรณาการการทำงานทั้งหน่วยงานของรัฐในระดับจังหวัดทั้ง จังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด สำนักเขตพื้นที่ทางการศึกษา หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน มูลนิธิ วัด ชุมชน โรงเรียน
.
.

Related Blogs

Posted by editor | July 12, 2024
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ให้จัดทำโครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
. 1) รวบรวมองค์ความรู้ บทเรียน ข้อค้นพบ การช่วยเหลือเด็กเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาและจัดทำรูปแบบ/แนวทางการช่วยเหลือเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา (แต่ละกลุ่ม) ครอบคลุมมิติการศึกษา สุขภาพ และสังคม 2) ถอดบทเรียนกลไกอาสาสมัครในการช่วยเหลือเด็กเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ได้แก่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านสวัสดิการสังคม และมิติด้านการสาธารณสุข และจัดทำข้อมูลเพื่อสื่อสารขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 3 สื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในสังคม และขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา อย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) ....
Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...