ประเด็นเด็กเด็ดจากหนัง : Juvenile Justice (หญิงเหล็กศาลเยาวชน)

ประเด็นเด็กเด็ดจากหนัง : Juvenile Justice (หญิงเหล็กศาลเยาวชน)

Juvenile Justice (หญิงเหล็กศาลเยาวชน) ซีรีส์เกาหลีใต้ของ Netflix บอกเล่าการทำงานและการตัดสินคดีความในแผนกคดีเยาวชนที่มีความซับซ้อนและกดดัน ผ่านเรื่องราวของชิมอึนซอก ผู้พิพากษาหญิงที่มีความเกลียดชังต่อผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กกับประโยคที่ว่า “ฉันรังเกียจเยาวชนผู้กระทำผิด” ซึ่งต่อมาเธอได้เรียนรู้และเปิดใจยอมรับว่าเด็กเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ส่วนอีกด้านหนึ่งมีเด็กบางกลุ่มที่ไม่อาจแก้ไขการกระทำและสำนึกผิดในสิ่งที่ตนกระทำไป จึงเป็นหน้าที่ของเธอในการให้บทลงโทษที่ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ถึงผลจากการกระทำของตนเอง
.
เมื่อเด็กกระทำความผิดและเข้าสู่ในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการพัฒนาศักยภาพของเด็กเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสมดุลและมีความสุข มีการพัฒนาแบบองค์รวมทั้งความรู้ พฤติกรรม และให้ตระหนักในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สร้างตัวตนที่เป็นเกราะป้องกันตนเองจากการก้าวพลาดและการกระทำผิดซ้ำ
.
ทั้งนี้รูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กในกระบวนการยุติธรรม จำเป็นต้องมีการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มประสบการณ์ตามความถนัดหรือความสนใจของเด็กเชี่อมโยงเข้ากับการประกอบอาชีพ การจัดตั้ง Learning Hub เพื่อจัดการศึกษาทางเลือกรูปแบบศูนย์การเรียนภายในศูนย์ฝึก รวมทั้งการประสานกับเครือข่ายศูนย์การเรียนภายนอกเพื่อส่งต่อเด็กระหว่างการฝึกและอบรมในศูนย์ฝึก และภายหลังที่ได้รับการปล่อยตัว
.
นอกจากนั้นซีรีส์ยังสะท้อนให้เห็นว่า “ครอบครัว” คือสถาบันหลักที่ทำให้เด็กเลือกเข้าสู่เส้นทางที่ผิด พวกเขาต้องพบเจอกับประสบการณ์การใช้ความรุนแรงในครอบครัว การขาดผู้ชี้แนะแนวทางการใช้ชีวิตและการขาดผู้ให้คำปรึกษาถึงปัญหาของตนเอง เนื่องจากสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันแรกและมีความสำคัญมากที่สุดสำหรับเด็ก
.
สามารถอ่านแนวทางการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/CYDEDUCHULA/posts/3614575388556977

#CYD #ประเด็นเด็กเด็ดจากหนัง

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...