ประเด็นเด็ก เด็ดจากหนัง : ความหวังกับความรู้สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน “All of Us Are Dead” (มัธยมซอมบี้)

ประเด็นเด็ก เด็ดจากหนัง : ความหวังกับความรู้สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน “All of Us Are Dead” (มัธยมซอมบี้)

.
แนะนำซีรีส์สะท้อนสังคมสัญชาติเกาหลีใต้ เรื่อง “All of Us Are Dead” ฉายทาง Netflix ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในสังคม เนื้อหาของซีรีส์เป็นเรื่องราวของไวรัสซอมบี้ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมัธยมปลาย นักเรียนเป็นผู้รอดชีวิตต้องหาวิธีเพื่อฝ่าฟันฝูงซอมบี้ แต่ต้องเผชิญทั้งความขัดแย้งระหว่างเพื่อนและด้านมืดในจิตใจของตนเอง เพื่อปกป้องตนเองที่อยู่ท่ามกลางสมรภูมิการเอาชีวิตรอดที่สุดแสนสิ้นหวัง โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่แม้แต่น้อย
.
แต่อย่างไรก็ตามเกิดการตั้งคำถามจากนักเรียนที่ชวนให้สังคมขบคิดกันต่อว่า “บางประเทศจะรู้สึกเศร้ายิ่งกว่าเวลาที่ผู้ใหญ่ตาย บางประเทศจะเศร้ายิ่งกว่าเวลาที่เด็กตาย การที่เด็กตายแปลว่าความหวังหายไป ส่วนการที่ผู้ใหญ่ตายแปลว่าความรู้หายไป ความหวังกับความรู้อยู่ที่เราคิดว่าอันไหนสำคัญกว่ากัน”
.
เนื้อหาในซีรีส์ทำให้เห็นว่าความรู้สำคัญกว่าความหวัง เนื่องจากผู้ใหญ่ที่มียศมีตำแหน่งมักจะได้รับความช่วยเหลือก่อนเสมอ แต่สังคมกลับละเลยเด็กนักเรียนเหล่านี้ หากย้อนกลับมาดูอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กพึงที่จะได้รับโดยกำหนดว่า เด็กจะต้องรับได้สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival) และสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection) จากรัฐ นอกจากนั้นซีรีส์ยังสะท้อนให้เห็นปัญหาภายในโรงเรียน เช่น การบูลลี่ (Bully) การใช้ความรุนแรง การคุกคามทางเพศ ชนชั้นทางสังคม และการที่ครูเมินเฉยถึงปัญหาของเด็กในโรงเรียน
.
แล้วคุณละคิดว่าความหวังกับความรู้สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ?
.
สามารถอ่านอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเพิ่มเติมได้ที่ https://shorturl.asia/cZiT6

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...