ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการห้องเรียนกัมปง สืบค้นทักษะชีวิต ณ ตำบลสะเอะ จังหวัดยะลา

ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการห้องเรียนกัมปง สืบค้นทักษะชีวิต ณ ตำบลสะเอะ จังหวัดยะลา

เปิดบ้านห้องเรียนกัมปง สืบค้นทักษะชีวิต
วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2564
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการห้องเรียนกัมปง สืบค้นทักษะชีวิต ณ ตำบลสะเอะ จังหวัดยะลา (1 ใน 3 พื้นที่จัดกิจกรรม ได้แก่ ตำบลสะเอะ พื้นที่ตำบลบันนังสตา และพื้นที่ตำบลยุโป)
ทั้งสามพื้นที่มีกิจกรรมเปิดห้องเรียน สอนทักษะชีวิตให้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา และให้ความช่วยเหลือเด็ก ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19
รูปแบบกิจกรรม อาทิ กิจกรรมปลูกผัก กิจกรรมทำโต๊ะไม้เทียม กิจกรรมสำรวจมัสยิดถ้ำ The Cave กิจกรรมไม้ไอติมสร้างสรรค์และลูกไก่นับเลข กิจกรรมทำอาหารแจกจ่ายคนในชุมชน
รวมทั้งการแจกจ่ายหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และอื่นๆ
โดยเยาวชนหนึ่งในผู้เข้าร่วมได้เล่าว่า
“ว่างงานมาจะสองปีแล้ว ตอนแรกจะไปทำงานและฝึกภาษาที่อินโดนีเซียหลังจบมอหก แต่โควิดมา เขาปิดประเทศก็ไปไม่ได้ ต้องหาเงินช่วยที่บ้าน ตอนนี้เลยทำกระหรี่ปั๊บขาย พอได้เงินวันละ 300-400 บาท ก็พออยู่เลี้ยงตัวเองได้
ที่กลุ่มลูกเหรียงมีสอนทำอาหาร ทำขนม ถ้าไม่ได้ไปจริงๆ ก็อยากเปิดธุรกิจขายขนมปังปิ้ง แต่อยากทำให้ขนมเก็บได้นานขึ้น อยากออกแบบสินค้าให้ดี แล้วก็อยากเรียนขายออนไลน์
แต่ลึกๆ ผมอยากเรียนให้สูง อยากเรียนพวกนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เพราะบางทีชาวบ้านโดนเอาเปรียบ ไม่รู้เรื่องกฎหมาย ว่าจะแก้ไขปัญหายังไง ปัญหาสถานการณ์จังหวัดชายแดนด้วย ถ้าได้ไปอินโดนีเซีย ก็ได้ฝึกภาษา อยู่ต่างวัฒนธรรม ได้ความรู้ใหม่ เอามาใช้ในชุมชน แต่ตอนนี้ก็ต้องอยู่การศึกษานอกระบบไปก่อน”
สิ่งที่น้องในชุมชนเล่า เผยให้เห็นความโชคดีที่คนในชุมชนช่วยเหลือกัน มีกลุ่มลูกเหรียงประสาน หาวิทยากรมาให้ความรู้ และ
การดำเนินงานทั้งหมดที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ซึ่งเรื่องเล่าในพื้นที่แห่งนี้ยังมีอยู่อีกหลายด้านที่น่าสนใจ
โปรดติดตามในครั้งต่อไป

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...