มหาวิทยาลัยราชภัฏ กับการเป็นกำลังสำคัญในการทำงานพัฒนาชุมชน

มหาวิทยาลัยราชภัฏ กับการเป็นกำลังสำคัญในการทำงานพัฒนาชุมชน

วันที่ 4 ก.ค. 2561 ทีมศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ลงพื้นที่เสาะหาเครือข่ายทำงานด้านเด็กและเยาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และได้แลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ผศ.ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และผศ.ดร.ฐานกุล กุฏิภักดี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ได้ฉายภาพให้เห็นถึงต้นทุนการเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่ สถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชน รวมถึงแนวทางการผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกับชุมชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยยึดอุดมการณ์ที่ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏต้องเป็นคลังปัญญา ทำงานพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับชุมชน”

แม้ว่าประเด็นการเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนจะมีความหลากหลายมาก แต่ประเด็นสำคัญที่เห็นได้ชัดคือการขับเคลื่อนสังคมพหุวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นจริง เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติ ศาสนาที่แตกต่างกัน

การลงพื้นที่ยะลาครั้งนี้ ทำให้เราเห็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นกับการเป็นกำลังสำคัญในการสร้างเปลี่ยนแปลงระดับสังคมโดยเฉพาะงานด้านเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างพลเมืองยุคใหม่ที่เข้าใจตัวเอง เข้าใจสังคม และสามารถส่งต่อพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมต่อไป

 

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...