ลงพื้นที่ 7arts inner place อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาสมรรถนะครูจิตอาสาเพื่อเด็กนอกระบบการศึกษาเชียงรายและแม่ฮ่องสอน

ลงพื้นที่ 7arts inner place อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาสมรรถนะครูจิตอาสาเพื่อเด็กนอกระบบการศึกษาเชียงรายและแม่ฮ่องสอน

เมื่อวันที่ 11-12 สิงหาคม 2565 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา ลงพื้นที่ 7arts inner place อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาสมรรถนะครูจิตอาสาเพื่อเด็กนอกระบบการศึกษาเชียงรายและแม่ฮ่องสอน
.
ซึ่งเป็น 1 ใน 8 โครงการภาคีเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาสมรรถนะครูจิตอาสาเพื่อประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้และช่วยเหลือเด็กนอกระบบการศึกษา
.
ผลจากการติดตามการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว พบว่า คณะทำงานโครงการย่อยร่วมกับทีมวิทยากรได้ออกแบบกระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูจิตอาสาโดยการนำสมรรถนะหลักและสมรรถนะย่อยที่ต้องการพัฒนามาผสมผสานร้อยเรียงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทางจิตปัญญาซึ่งประยุกต์ใช้แนวคิดของกระบวนการศิลปะด้านใน (Art Inner experiences) ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางศิลปะที่มุ่งเน้นภายในจิตใจ ที่ก่อให้เกิดความรัก ความงาม ความเข้าอกเข้าใจตนเองและผู้อื่น และกระบวนการคุยกับตนเอง (self-talk) เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ภายในตน การแลกเปลี่ยนความคิดของตนเองกับความคิดของผู้อื่น เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน และเชื่อมโยงตนเองสู่สังคม
.
ทั้งนี้ ครูจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมได้สะท้อนประสบการณ์จากการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมดังกล่าวว่า ศิลปะส่งผลให้จิตใจสงบนิ่ง ได้ทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเองมากขึ้น การปรับเปลี่ยนมุมมองผ่านการมองเห็นความงดงามจากสิ่งเรียบง่ายที่อยู่รอบตัว เช่น การจัดแจกันดอกไม้ การใช้โทนสีอธิบายอารมณ์ความรู้สึก ที่สามารถใช้ทำความเข้าใจตนเองและทำความเข้าใจผู้อื่นได้ ซึ่งครูจะนำความรู้และประสบการณ์จากกิจกรรมเหล่านี้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่เด็กนอกระบบการศึกษาที่ตนเองดูแลอยู่

11

Related Blogs

Posted by editor | July 12, 2024
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ให้จัดทำโครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
. 1) รวบรวมองค์ความรู้ บทเรียน ข้อค้นพบ การช่วยเหลือเด็กเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาและจัดทำรูปแบบ/แนวทางการช่วยเหลือเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา (แต่ละกลุ่ม) ครอบคลุมมิติการศึกษา สุขภาพ และสังคม 2) ถอดบทเรียนกลไกอาสาสมัครในการช่วยเหลือเด็กเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ได้แก่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านสวัสดิการสังคม และมิติด้านการสาธารณสุข และจัดทำข้อมูลเพื่อสื่อสารขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 3 สื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในสังคม และขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา อย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) ....
Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...