Map

☻โครงการต้นแบบการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ของศูนย์การชนเผ่าในสถานการณ์ โรคระบาด ศูนย์การเรียนรู้โจ๊ะมาโลลือหล่า

☻โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

☻โครงการพัฒนาครูและเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย

☻โครงการสร้างสรรค์พัฒนาการและการเรียนรู้เด็กเยาวชนพิการ โดยครอบครัวและชุมชนพื้นที่บุรีรัมย์และสุรินทร์ มูลนิธิขวัญชุมชน

☻โครงการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับครู เด็กและเยาวชนในชุมชนแรงงานข้ามชาติ ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่สำนักวิชานวัตกรรมสังคม ม.แม่ฟ้าหลวง

☻โครงการพัฒนาศักยภาพครูนอกระบบให้สามารถจัดการศึกษาตามภูมิสังคม และสอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน

☻โครงการ “ตามหาน้องในซอกหลืบ: แสงส่องใจปลอดภัยจาก COVID-19”) ม.ราชภัฏชัยภูมิ

☻โครงการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โครงการสตรีนานาชาติพันธุ์

☻โครงการพัฒนาอาชีพเด็กชายขอบ ศูนย์การเรียนบ้านนานา

☻โครงการการพัฒนาศักยภาพด้านการใช้สื่อออนไลน์ สำหรับจัดกระบวนการเรียนรู้บนฐานนิเวศวัฒนธรรมชุมชน เพื่อสร้างอาชีพเกี่ยวกับอาหารและสมุนไพร ศูนย์การเรียนหญ้าแพรกสาละวิน

☻โครงการพัฒนาเครือข่ายครู และ นักวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์บริการวิชาการ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

☻โครงการพัฒนาเยาวชนมุสลิมไทยเพื่อความเสมอภาคและยั่งยืน มูลนิธิบ้านดี ดารุ้ลคอยร

☻โครงการห้องเรียนกัมปง สืบค้นทักษะชีวิตนำร่อง สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้

☻โครงการสานฝันอาชีพเด็กชายแดน มูลนิธิบ้านครูน้ำ

☻โครงการเมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต มูลนิธิโลกทัศน์สโมสร

ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่สำนักวิชานวัตกรรมสังคม ม.แม่ฟ้าหลวง

☻โครงการ Young kids 6 part เทศบาลนครราชสีมา

☻โครงการการจัดการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสู่การมีงานทำของคนพิการในสถานการณ์ COVID-19 มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ

โครงการสื่อสารสร้างสรรค์พลังเด็กพลังชุมชนคุ้มครองเด็ก จ.อุบลราชธานี

โครงการนี้ ดำเนินการโดยกลุ่มสื่อใสวัยทีน (องค์กรสาธารณะประโยชน์) โดยมีพื้นที่เป้าหมาย 3 ชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ชุมชนวังทอง ชุมชนเกตุแก้ว และชุมชนวัดโรมันคาทอลิก โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อ 1) ให้เด็กและเยาวชนในชุมชนแออัดสามารถวิเคราะห์และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองได้ 2) ให้เกิดกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีความเข้มแข็งในชุมชนแออัด และ 3) ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวและกิจกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชนแออัด

โครงการบ้านสร้างสุข พลังเยาวชนนาจะหลวย (NL) จ.อุบลราชธานี

โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดำเนินโดยสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบล นาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพี่เลี้ยงสภาเด็กฯ ประจำเทศบาลและทีมพี่เลี้ยงจากบริษัท เอสไอแอลซี จำกัด เป็นที่ปรึกษาและคอยให้การสนับสนุนทางความคิดและการถอดบทเรียน โครงการบ้านสร้างสุข พลังเยาวชนนาจะหลวยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในชุมชนเทศบาลตำบลนาจะหลวย 2) ให้เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์และเกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน 3) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนสามวัยในชุมชน กลุ่มเป้าหมายของโครงการคือกลุ่มคนสามวัย ได้แก่ เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป และผู้สูงอายุในพื้นที่ ทางโครงการได้ออกแบบและดำเนินกิจกรรมทั้งสิ้น 6 กิจกรรม ซึ่งมุ่งสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เป็นพื้นที่แสดงออกของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุกกลุ่ม

โครงการคืนความสุขให้เยาวชน จ.เชียงใหม่

โครงการนี้ถูกจัดขึ้นโดยมี นายอัครชัย อรุณเหลือง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 7 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ เป้าหมายของโครงการมุ่งสร้างพื้นที่แสดงออกให้แก่เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกฯ ซึ่งก้าวพลาดกระทำความผิดและอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ให้พวกเขาได้กลับมามองเห็นศักยภาพ ความสามารถที่มีอยู่ในตนเองเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก

โครงการพฤติกรรมเสี่ยงการฆ่าตัวตายในมุมมองของวัยรุ่นใน จ.นครพนม

โครงการมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงการฆ่าตัวตายในมุมมองของวัยรุ่นชนในเขตจังหวัดนครพนม โดยกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม (อยู่ระหว่างการดำเนินการวิจัย)

โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ “พลเมืองเด็กและเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล” จ.พิษณุโลก

โครงการมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ “พลเมืองเด็กและเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล” ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบโรงเรียนและอุดมศึกษา โดยมีอายุตั้งแต่ 13 – 19 ปี ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก (อยู่ระหว่างการดำเนินการวิจัย)

โครงการแนวทางการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม กรุงเทพฯ

โครงการมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม โดยมีขอบเขตในการดำเนินการวิจัยในจังหวัดนครปฐม ระยอง และราชบุรี

โครงการแนวทางการฟังเสียงเด็กเพื่อพัฒนาเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ กรณีศึกษาอำเภอพยุห์ จ.ศรีสะเกษ

โครงการ แนวทางการฟังเสียงเด็ก เป็นการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ นำด้วยงานกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเด็กๆในชุมชน โดยใช้วัฒนธรรมการละเล่นท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาเป็นกลไกในการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ที่อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ การดำเนินโครงการครั้งนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กๆ 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการกล้าแสดงออก ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะด้านการเคารพกติกา ดาวน์โหลดรายงานฉบับสมบูรณ์

โครงการเบิ่งแญง ณ ฮิมของ กรุงเทพฯ

โดย ฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ คณะกรรมการนิสิตปริญญาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการอาสาทำดีของนิสิต การทำค่ายอาสา ปฏิบัติกิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน การจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชนเป้าหมายในพื้นที่ชุมชนบ้านตามุย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนเป้าหมายรู้จักของดีในชุมชน และให้ความรู้สึกสำนึกรักบ้านเกิด รู้จักรากเหง้าตัวตนของตนเอง เกิดความหวงแหน และต้องการสืบทอดความรู้วิถีชุมชนต่อไป การดำเนินงานประกอบด้วยกิจกรรมหลักคือการสำรวจทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป้าหมาย การนำเยาวชนลงพื้นที่เรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ชุมชนที่ได้จัดการไว้แล้ว การประกาศแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 8 แห่ง และการจัดนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับแก่สาธารณะต่อไป ดาวน์โหลดรายงานฉบับสมบูรณ์

โครงการชวนกันเล่า ช่วยกันสื่อ จ.ยะลา

โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาในการใช้สื่อวีดีทัศน์ เสนอประเด็นน่าสนใจในชุมชน ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการเล่าเรื่องของเยาวชนและชุมชนในพื้นที่จังหวัดยะลา และ 2) ให้เยาวชนและชุมชนสามารถผลิตสื่อ (คลิป) วีดีโอสั้นบนโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน และสามารถเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ได้

โครงการถอดบทเรียนการเรียนรู้อย่างมีความสุขสู่ความเป็นมนุษย์ จ.ระยอง

“โรงเรียน โรงเล่น” กลุ่มรักษ์เขาชะเมา จ.ระยอง การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ให้ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งด้านภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม รวมถึงทักษะการรู้เท่าทันสื่อ “พี่แฟ๊บ” บุบผาทิพย์ แช่มนิล” และ “พี่อี๊ด” มณฑา เข้มพิมพ์ แกนนำผู้ใหญ่ที่ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมผ่าน 3 หลักคิดหลัก คือ สิ่งที่เด็กต้องรู้ สิ่งที่เด็กควรรู้ และสิ่งที่เด็กอยากรู้ สร้างแกนนำเด็กและเยาวชนรุ่นต่อรุ่น เพื่อดูแลท้องถิ่นของตนเอง

โครงการพัฒนาทักษะอาชีพและทักษะชีวิต โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา จ.อุบลราชธานี

โครงการนี้ดำเนินการโดยโรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมองเห็นประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงผลกระทบต่อครอบครัวของเด็กและเยาวชนในโรงเรียน ด้วยเหตุนี้โครงการจึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาทักษะอาชีพและทักษะชีวิตให้แก่นักเรียนโรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา

โครงการสืบฮีต ตวยฮอยวิถีชุมชนบนมิติรายได้ครัวเรือนของคนลุ่มน้ำแม่อ้อ จ.เชียงราย

โครงการนี้ดำเนินการโดยกลุ่มนักศึกษาชมรมรากดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และชมรมสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ชนบทหรือชุมชนเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายฐานการเรียนรู้เดิม คือ การศึกษาประเด็นรายได้ครัวเรือนที่มีผลต่อการสร้างสุขภาวะของคนในชุมชนลุ่มน้ำแม่อ้อ ได้แก่ 1) ความมั่นคงทางอาหาร 2) โจรเสื้อขาว 3) ภาษีทางสังคม และ 4) กลุ่มโรค NCDsและพัฒนาต่อยอดประเด็นการเรียนรู้ของคนในชุมชนลุ่มน้ำแม่อ้อและออกแบบนวัตกรรมร่วมกับคนในชุมชนในการสร้างสุขภาวะที่ดี

โครงการ ระเบียงรู้ เติมสุขสู่ชุมชน จ.เชียงราย

โครงการนี้ดำเนินการโดยนายสิทธิชัย ซาวคำเขตร อดีตนักศึกษาในชมรม “ฅน รักษ์ ธรรม เพื่อสังคม” มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปัจจุบันเป็นผู้จัดการกิจกรรมโรงเรียนระเบียงรู้ ชุมชนบ้านถ้า หมู่ที่ 1 ตำบลโป่งงาม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งมองเห็นความสำคัญของปัญหาความสัมพันธ์ในชุมชนบ้านถ้ำของเด็กเยาวชนกับผู้อาวุโสในชุมชน ช่องว่างระหว่างวัยนำมาซึ่งความห่างเหินและความไม่เข้าใจกัน เด็กและเยาวชนไม่ได้รับโอกาสการพัฒนาจากผู้ใหญ่ในชุมชน และอาจถูกชักจูงไปสู่อบายมุขได้ง่ายขึ้น จึงเป็นเหตุให้โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้แก่เด็กและเยาวชนในชุมชน