จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 8 พื้นที่ (วันที่ 3)

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 8 พื้นที่ (วันที่ 3)

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 เป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อยตามประเภทครูนอกระบบการศึกษา ทั้งครูประจำการ ครูนักพัฒนา และครูจิตอาสา
.
การอบรมสมรรถนะย่อยห้องครูประจำการ ในหัวข้อความพร้อมยอมรับความเปลี่ยนแปลง การยอมรับความล้มเหลวกับความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและยินดีที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นโดยนายแพทย์พนม เกตุมาน เป็นการพัฒนาสมรรถนะด้านทัศนคติและเจตคติของครูนอกระบบการศึกษาให้สามารถปรับตัวและยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ท่ามกลางสถานการณ์ต่าง ๆ ผ่านการทำกิจกรรมทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมาที่เป็นเหตุการณ์ในชีวิตที่ประสบความสำเร็จและเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรค เชื่อมโยงกับอุปนิสัยที่เป็นจุดแข็ง (Charater Strengths) 6 กลุ่มใหญ่ 24 ด้าน ที่ใช้ในการปรับตัวให้มีความสุขและเกิดความสำเร็จ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม และสิ่งแวดล้อม
.
การอบรมสมรรถนะย่อยห้องครูนักพัฒนา ในหัวข้อ ผู้นําทางความคิด เพื่อแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการทํางาน โดยคุณปรีดา เรืองวิชาธร มีการใช้กิจกรรม อำนาจแห่งดวงดาว เพื่อทำความเข้าใจปัญหาในเชิงโครงสร้างผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การสะท้อนคิดจากกิจกรรม ตลอดจนการเชื่อมโยงสู่สังคมและการปฏิบัติงานจริงในฐานะครูนักพัฒนา ทั้งนี้เพื่อการขยายความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเด็กนอกระบบการศึกษาผ่านมิติของโครงสร้างทางสังคมและการกดขี่ จากนั้นจึงนำเข้าสู่กระบวนการการการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านกระบวนการสนทนา (Dialogue) และการสะท้อนคิด (Reflection) เกี่ยวกับกรอบความคิด ศักยภาพ และทักษะของครูนักพัฒนาและเด็กนอกระบบการศึกษา
.

การอบรมสมรรถนะย่อยห้องครูจิตอาสา ในหัวข้อการเรียนรู้เพื่อทบทวนผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงอย่างมียุทธศาสตร์ โดยอ.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคุณนเรศ สงเคราะห์สุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และยกระดับภารกิจประจำสู่งานวิจัยที่เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของงาน กิจกรรมที่น่าสนใจของการอบรมครั้งนี้ คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของครูนอกระบบการศึกษากลุ่มจิตอาสาเกี่ยวกับกระบวนการในการตั้งโจทย์วิจัยจากภารกิจที่ได้ปฏิบัติจริงและเชื่อมโยงกับบริบทงาน จากนั้นจึงนำไปสู่กิจกรรมการคิดร่วมกันในการออกแบบกระบวนการค้นหาคำตอบ และการสร้างความรู้ ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาภารกิจของครูจิตอาสาเป็นอย่างมาก

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...