กระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา

กระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา

ครูนอกระบบการศึกษาที่เป็นครูพี่เลี้ยงที่อาจจะเป็นผู้นำในชุมชน ครูในพื้นที่ และองค์กรสาธารณประโยชน์ที่เข้าไปทำงานสนับสนุนเด็กกลุ่มนี้จะต้องจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ จัดร่วมกับกลุ่มการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือกลุ่มการศึกษาทางเลือก ซึ่งทำเป็นหลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตรระยะยาวโดยสามารถทำได้ 5 ขั้นตอน ได้แก่
.
1. รู้จักตนเอง การดำเนินการขั้นนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนอกระบบการศึกษาได้ทบทวนตัวเอง โดยกิจกรรมที่ใช้ คือ สายธารชีวิต ต้นไม้ชีวิต
.
2. ตัวเองมีดี การคิดเชิงบวกทำให้เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถและมีข้อดีของตัวเอง โดยกิจกรรมที่ใช้ คือ ดอกไม้ในใจฉัน ลวดเสียบกระดาษ มนุษย์เปลี่ยนแปลง
.
3. ตระหนักถึงสถานการณ์ทางสังคม ทำให้ได้มองเห็นสิ่งรอบตัวเขามากขึ้น โดยกิจกรรมที่ใช้ คือ โยนบอลคำถาม ต้นไม้ชุมชน กระจกสองด้าน วิเคราะห์ปัญหาด้วยใยแมงมุม
.
4. ออกแบบสัมมาชีพ เด็กถูกตีกรอบความคิด ถูกทำลายความฝัน ทำให้หลายคนไม่มีโอกาสได้ฝันถึงอนาคตของตนเอง กระบวนการนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อทำให้เด็ก ได้รู้ว่าตัวเองฝันอยากทำอาชีพอะไรในอนาคต และจะต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะประกอบอาชีพนี้ได้
.
5. การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษาควรมีการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ที่สะท้อนคุณภาพการเรียนรู้ และพัฒนาการของผู้เรียนรายบุคคลตามความเป็นจริงด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย และสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน
.
ข้อมูลจาก หนังสือชุดความรู้เล่มที่ 2 “การวางแผนและการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา” ภายใต้ “โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
.
อ่านและดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.cydcenter.com/nfe_series/

Related Blogs

Posted by editor | June 4, 2025
คู่มือการออกแบบแนวทางให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน
สงวนลิขสิทธิ์/จัดทำ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลิกเพื่ออ่านฉบับเต็ม
Posted by editor | June 4, 2025
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาเด็ก เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout)
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2567 จำนวน 20 เล่ม สงวนลิขสิทธิ์/จัดทำ : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลิกเพื่ออ่านฉบับเต็ม
Posted by editor | May 30, 2025
แนะนำแอปพลิเคชันที่จะทำให้การเลิกบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องง่าย !
"Quit Vaping" แอปพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเลิกบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีฟังก์ชันและคุณสมบัติหลากหลายที่สนับสนุนการเลิกบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการเลิกแบบหักดิบ หรือค่อยๆ ลดปริมาณลง.แอปจะช่วยบันทึกจำนวนครั้งที่สูบต่อวัน สามารถติดตามความก้าวหน้าว่าคุณสามารถเลิกบุหรี่ไฟฟ้ามานานแค่ไหนแล้ว ทั้งเวลาที่ปลอดบุหรี่ไฟฟ้าและจำนวนเงินที่คุณสามารถประหยัดได้ อีกทั้งแอปยังแสดงข้อมูลสุขภาพที่คุณจะได้รับเมื่อเลิกบุหรี่ไฟฟ้า เช่น การทำงานของปอดที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และมีระบบระบบ Buddy System ที่ให้คุณและเพื่อนติดตามความก้าวหน้าร่วมกันได้.นอกจากนี้แอปยังมีฟังก์ชันช่วยจัดการความอยากบุหรี่ไฟฟ้าอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำในการรับมือทางอารมณ์ กิจกรรมผ่อนคลายฝึกลมหายใจ การใช้เสียงเพื่อช่วยให้ร่างกายและจิตใจเข้าผ่อนคลาย แนะนำกิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น การออกกำลังกาย เกม เพลง และในแอปคุณสามารถจดบันทึกส่วนตัวได้ ความท้าทาย หรือความสำเร็จในแต่ละวันได้อีกด้วย.สามารถดาวน์โหลดได้ที่ :App...