[Factsheet] วิทยากรการเกษตร

[Factsheet] วิทยากรการเกษตร

“วิทยากรการเกษตร” คือ เกษตรกรผู้มีบทบาทสำคัญในการยกระดับและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทยสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ด้วยการสร้างองค์ความรู้และจัดเตรียมกระบวนการจัดประสบการณ์ผ่านการปฏิบัติเพื่อสร้างการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตลอดชีวิตให้เกษตรกรรุ่นใหม่ อย่างไรก็ดี แม้เกษตรกรท่านนั้นจะเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องที่ตนทำอยู่อย่างแตกฉาน แต่ขาดทักษะการเป็นวิทยากร ไม่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ก็น่าเสียดายความรู้ที่มีอยู่ในตนอย่างยิ่ง

.

การเป็นวิทยากรเป็น “ศาสตร์” และ “ศิลป์” เมื่อเกษตรกรจำเป็นต้องปรับบทบาทจากการทำงานภาคการเกษตร มารับหน้าที่เป็น “ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ” ให้เกษตรกรรุ่นใหม่ ศาสตร์และศิลป์นี้จึงจำเป็นต้องเร่งเรียนรู้และฝึกฝน เก็บเกี่ยวประสบการณ์เพิ่มเติม และฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เกษตรกรย่อมเกิดความพร้อมและสามารถเป็น “วิทยากรการเกษตร” ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและเศรษฐกิจชุมชนของตนเองได้อย่างมั่นใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ร่วมกันที่ท้าทายและสนุกสนาน

.

ในการพัฒนาเด็กนอกระบบการศึกษา “วิทยากรการเกษตร” ยังเป็นผู้มีบทบาท “ครูภูมิปัญญาเกษตร” ผู้พัฒนาเด็กนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ให้ได้รับความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการทำเกษตร รวมไปถึงการพัฒนาทักษะชีวิตให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการกระตุ้นและเสริมสร้างให้เกิดทักษะอาชีพบนฐานเศรษฐกิจชุมชน และส่งต่อเด็กนอกระบบการศึกษาเข้าสู่การประกอบอาชีพเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เหมาะสมได้ในบรรยากาศการทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้และพร้อมจะเป็นเกษตรกรปราดเปรื่องที่สามารถถ่ายทอดความรู้เพื่อสังคมได้ต่อไป

.

คลิกเพื่ออ่าน factsheet


ที่มา : ระวี จูฑศฤงค์. วิทยากรการเกษตร. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีนเซอร์วิสซัพพลาย, 2562.

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...