ประเด็นร้อน

Posted by | May 14, 2021
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส

แม้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จะระบุว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้ลูกหรือเด็กในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ (พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ, 2542) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีเด็กวัยนี้อีกกลุ่มนึงที่อยู่นอกระบบการศึกษา ที่เป็นเด็กด้อยโอกาส เด็กเหล่านี้เป็นใคร? . เด็กนอกระบบการศึกษา หมายถึง เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่มีอายุตั้งแต่ 12 - 25 ปีซึ่งปัจจุบันไม่ได้เข้ารับการศึกษาอยู่ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)...

Continue Reading
Posted by | May 14, 2021
เป้าหมายในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนแก่เด็กและเยาวชนด้อยโอกาส

หากเปรียบการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับการเรียนรู้เฉพาะบุคคลเป็น “น้ำ” และเปรียบเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสที่มีความแตกต่างหลากหลายเฉพาะบุคคลเป็น “แก้วน้ำ” ที่มีรูปทรงที่แตกต่างและมีปริมาณน้ำที่เป็นต้นทุนเดิมในแก้วที่แตกต่างกัน มากบ้าง น้อยบ้าง . การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนแก่เด็กและเยาวชนด้อยโอกาส จึงเปรียบเหมือนการเทน้ำในแก้วให้เต็มตามที่ตัวเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสแต่ละบุคคลต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองและใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างเต็มศักยภาพของตนท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 . อ้างอิงข้อมูล: วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2564). เอกสารคำสอนรายวิชา 22750295 การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Continue Reading
Posted by | May 14, 2021
รูปแบบการศึกษาสำหรับเยาวชนด้อนโอกาส

ในสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ทั้งการมีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษามากขึ้น และเกิดภาวะถดถอยด้านการเรียนรู้ของเด็กนอกระบบการศึกษา . ดังนั้นรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส คือ การศึกษาในระบบโรงเรียนที่ต้องมีการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นทั้งวิธีการสอนและการประเมิน รวมถึงการศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาทางเลือก ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้เวลาและการเลือกรูปแบบการเรียน จะทำให้ครูนอกระบบสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมและส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคล (personalized learning) ที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต ทั้งความรู้สายสามัญ ความรู้ด้านทักษะอาชีพ ความรู้ด้านทักษะชีวิต และประสานเครือข่ายหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชน และแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ เช่น พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เป็นต้น เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ....

Continue Reading
Posted by | May 14, 2021
แนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กด้อยโอกาส

ประเทศไทยมีเด็กด้อยโอกาสที่ถือว่าเป็นผู้พลาดโอกาสและผู้ขาดโอกาสอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งกลุ่มเด็กเปราะบางทางเศรษฐกิจ กลุ่มเด็กพิการและกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษด้านการเรียนรู้ กลุ่มเด็กเปราะบางทางสังคม และกลุ่มเด็กปัญหาเฉพาะ ดังนั้น การที่ครูนอกระบบการศึกษามีแนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กด้อยโอกาส ส่งผลให้สามารถวางแผนการดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสได้ตรงตามบริบทของกลุ่มเด็กด้อยโอกาสในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างแท้จริง . ช่วงโควิดทุกอย่างหยุด แต่ครูนอกระบบการศึกษาต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาเด็กด้อยโอกาส . แนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กด้อยโอกาสจะเป็นเข็มทิศในการทำงานของครูนอกระบบการศึกษาให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว . อ้างอิงข้อมูลจาก : วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. (2564). เอกสารคำสอนรายวิชา 22750295 การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Continue Reading
Posted by | February 1, 2021
วันครู 2564

เนื่องในวันครู 2564 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอนำเสนอวิสัยทัศน์ของครูนอกระบบ ครูน้ำ นุชนารถ บุญคง มูลนิธิบ้านครูน้ำ ครูแก้ว กัญญภัค สุขอยู่" ครูนอกระบบจากมูลนิธิสายเด็ก 1387 ครูอันซอรี สาแลหมัน จากมูลนิธินูซันตารา เพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา  

Continue Reading
Posted by | February 1, 2021
[วันเด็กปี 2564] อินโฟกราฟิกสรุปข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของเด็กนอกระบบการศึกษา

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ได้จัดทำอินโฟกราฟิกที่สรุปข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 ถึง 4 มกราคม 2564 โดยมี ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวน 57 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 52.63 และเพศชายร้อยละ 47.37 ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี (เด็ก) ร้อยละ 77.19 และอายุ 18 – 25 ปี (เยาวชน)...

Continue Reading
Posted by | November 13, 2020
สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเด็นการชุมนุมของนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป

ทัศนะเกี่ยวกับประเด็นการชุมนุมจากศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับประเด็นการชุมนุมของนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป รับชมฉบับเต็มได้ที่ : https://web.facebook.com/CYDEDUCHULA/videos/2809427825954616  

Continue Reading
Posted by | August 5, 2020
ทัศนะจาก ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ต่อกรณีคุณครูตัดผมนักเรียน

ทัศนะจาก ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ต่อกรณีคุณครูตัดผมนักเรียน เนื่องจากเห็นว่าผิดกฏของโรงเรียน จนไปสู่ประเด็นร้อนในโลกโซเชียล . "ระเบียบอันนี้ออกมาก้าวหน้าไปอีกขั้น เพราะให้สิทธิของเด็กในเรื่องของการไว้ผมมากขึ้น แต่ยังมีความคลุมเครือ เพราะมีการกระจายอำนาจให้ผู้บริหารตีความกฎระเบียบตาม “ดุลยพินิจ” เมื่อระเบียบมาแบบนี้ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย และเกิดข้อถกเถียงโต้แย้ง เพราะชุดความคิดของเด็กและผู้บริหารแตกต่างกันมาก . เด็กจะมองเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิเด็ก การออกนอกกรอบเป็นบรรทัดฐาน แต่ทางตรงข้ามผู้บริหารมองเป็นเรื่องของระเบียบวินัย ทรงผมมาตรฐาน เด็กชายก็ต้องผมเกรียนขาวสามด้าน เด็กผู้หญิงก็ต้องยาวไม่เกินติ่งหู เป็นภาพจำของนักเรียนไทยเชิงอนุรักษ์นิยม ทรงผมเป็นสัญลักษณ์ของความล้าหลังและเหลื่อมล้ำ . ปัญหาที่เกิดคือ โรงเรียนหลายแห่งก็จะเกิดสถานการณ์เผชิญหน้าระหว่างเด็กและครู มีการละเมิด...

Continue Reading