4As: Rights to Education (ตัวบ่งชี้คุณภาพการสนับสนุนสิทธิในการศึกษาของประชากรโลก)

4As: Rights to Education (ตัวบ่งชี้คุณภาพการสนับสนุนสิทธิในการศึกษาของประชากรโลก)

ศูนย์วิชาการฯ ขอตีความตามกรอบการให้ความหมายเรื่องสิทธิในการศึกษาโดย Katarina Tomaševski ผู้รายงานพิเศษ (special rapporteur) คนแรกของสหประชาชาติที่พัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการสนับสนุนสิทธิในการศึกษาของประชากรโลกไว้ 4 ประเภท (4As) คือ

1. การศึกษาที่รัฐทำให้เข้าถึงง่าย (Availability)

รัฐจำเป็นต้องจัดให้มีการศึกษาซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับ ต้องส่งเสริมให้มีสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง เปิดทางให้องค์กรชุมชนจัดการศึกษาได้ (keyword: make education available for all)


2. การจัดการศึกษาที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Accessibility)
ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้โดยไม่มีข้อจำกัดและอุปสรรค กล่าวคือ ไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวยก็สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ เพศ ศาสนา ภาษา อายุ ความบกพร่องทางร่างกายไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการศึกษา ซึ่งรัฐจำเป็นต้องให้การศึกษาอย่างเท่าเทียมและเที่ยงธรรมสำหรับทุกคน เช่น จัดให้เข้าศึกษาในโรงเรียนของรัฐโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (free education) หรือเป็นการศึกษาที่ทุกคนมีความสามารถที่จะจ่ายได้ (affordable education)

3. การศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ (Acceptability)
ประชาชนทุกคนพึงได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานด้านองค์ความรู้และสมรรถนะที่ผู้เรียนพึงได้ เป็นการศึกษาที่เคารพความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งการศึกษาที่เคารพความแตกต่างของความรู้ความเชื่อของชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อย เป็นการศึกษาที่เคารพสิทธิของผู้เรียนทุกคน

4. การศึกษาที่ปรับใช้กับชีวิตจริง (Adaptability)

การศึกษาที่รัฐจัดให้ประชาชนทุกคนต้องสอดคล้องกับบริบทสังคม เศรษฐานะ ชุมชน วิถีชีวิต และเคารพทางเลือกในการศึกษาที่หลากหลายของผู้เรียน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เรียนที่เป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเด็กผู้ใช้แรงงาน กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องพิการ กลุ่มเด็กอพยพหรือกลุ่มเด็กพลัดถิ่น (keyword: ความเหมาะสมของการศึกษากับชีวิต)


ที่มา: Tomaševski K. (2001). Human rights obligations: making education available, accessible, acceptable and adaptable. Lund, Sweden: Raoul Wallenberg Institute.
แปล: ศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...