4As: Rights to Education (ตัวบ่งชี้คุณภาพการสนับสนุนสิทธิในการศึกษาของประชากรโลก)

4As: Rights to Education (ตัวบ่งชี้คุณภาพการสนับสนุนสิทธิในการศึกษาของประชากรโลก)

ศูนย์วิชาการฯ ขอตีความตามกรอบการให้ความหมายเรื่องสิทธิในการศึกษาโดย Katarina Tomaševski ผู้รายงานพิเศษ (special rapporteur) คนแรกของสหประชาชาติที่พัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการสนับสนุนสิทธิในการศึกษาของประชากรโลกไว้ 4 ประเภท (4As) คือ

1. การศึกษาที่รัฐทำให้เข้าถึงง่าย (Availability)

รัฐจำเป็นต้องจัดให้มีการศึกษาซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับ ต้องส่งเสริมให้มีสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง เปิดทางให้องค์กรชุมชนจัดการศึกษาได้ (keyword: make education available for all)


2. การจัดการศึกษาที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Accessibility)
ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้โดยไม่มีข้อจำกัดและอุปสรรค กล่าวคือ ไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวยก็สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ เพศ ศาสนา ภาษา อายุ ความบกพร่องทางร่างกายไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการศึกษา ซึ่งรัฐจำเป็นต้องให้การศึกษาอย่างเท่าเทียมและเที่ยงธรรมสำหรับทุกคน เช่น จัดให้เข้าศึกษาในโรงเรียนของรัฐโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (free education) หรือเป็นการศึกษาที่ทุกคนมีความสามารถที่จะจ่ายได้ (affordable education)

3. การศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ (Acceptability)
ประชาชนทุกคนพึงได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานด้านองค์ความรู้และสมรรถนะที่ผู้เรียนพึงได้ เป็นการศึกษาที่เคารพความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งการศึกษาที่เคารพความแตกต่างของความรู้ความเชื่อของชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อย เป็นการศึกษาที่เคารพสิทธิของผู้เรียนทุกคน

4. การศึกษาที่ปรับใช้กับชีวิตจริง (Adaptability)

การศึกษาที่รัฐจัดให้ประชาชนทุกคนต้องสอดคล้องกับบริบทสังคม เศรษฐานะ ชุมชน วิถีชีวิต และเคารพทางเลือกในการศึกษาที่หลากหลายของผู้เรียน โดยเฉพาะกลุ่มผู้เรียนที่เป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเด็กผู้ใช้แรงงาน กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องพิการ กลุ่มเด็กอพยพหรือกลุ่มเด็กพลัดถิ่น (keyword: ความเหมาะสมของการศึกษากับชีวิต)


ที่มา: Tomaševski K. (2001). Human rights obligations: making education available, accessible, acceptable and adaptable. Lund, Sweden: Raoul Wallenberg Institute.
แปล: ศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Related Blogs

Posted by editor | September 9, 2024
เสียงสัมภาษณ์จากผู้อำนวยการโรงเรียนเนกขัมวิทยา จังหวัดราชบุรี ที่มีการนำ “1 โรงเรียน 3 รูปแบบ”
https://youtu.be/N3-twZ14_ag เสียงสัมภาษณ์จากผู้อำนวยการโรงเรียนเนกขัมวิทยา จังหวัดราชบุรี ที่มีการนำ "1 โรงเรียน 3 รูปแบบ" เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่น ป้องกันเด็กตกหล่น สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา มาช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) สนับสนุนงบประมาณโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) #CYD #กสศ #โรงเรียนเนกขัมวิทยา
Posted by editor | September 9, 2024
เสียงสัมภาษณ์จากอาสาสมัครทั้งจากการครูกศน. ตำบล อสม. ในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา จังหวัดราชบุรี
https://youtu.be/LUgoq_ZyF2c เสียงสัมภาษณ์จากอาสาสมัครทั้งจากการครูกศน. ตำบล อสม. ในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา จังหวัดราชบุรี ใน 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านสวัสดิการสังคม และมิติด้านการสาธารณสุข ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) สนับสนุนงบประมาณโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) #CYD #กสศ #สกร #กศน #ราชบุรี
Posted by editor | September 9, 2024
“เกรียงไกร ชีช่วง” เสียงสัมภาษณ์จากพี่เลี้ยงแกนนำ ในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
https://youtu.be/XN5tuin-02o เสียงสัมภาษณ์จากพี่เลี้ยงแกนนำ ในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ใน 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านสวัสดิการสังคม และมิติด้านการสาธารณสุข ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) สนับสนุนงบประมาณโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)