คลังความรู้

Posted by | August 5, 2020
ซีรีส์งานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน ชุดที่ 3 โดย อ.ดร.สุรชัย เฉนียง

"โครงการพฤติกรรมเสี่ยงการฆ่าตัวตายในมุมมองของวัยรุ่นในจังหวัดนครพนม” โดยอ.ดร.สุรชัย เฉนียง หัวหน้าโครงการฯ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม . ปัจจุบันวัยรุ่นเติบโตท่ามกลางสภาพแวดล้อมของการแก่งแย่งแข่งขันยิ่งผนวกกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจวัยรุ่นจึงถูกกดดันจากครอบครัว โรงเรียน สังคมและความคาดหวังของตนเองอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้วัยรุ่นไม่สามารถจัดการกับเครียดของตนเองได้เนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา วัยรุ่นบางรายหาทางออกด้วยการไปพึ่งพาสารเสพติดและที่รุนแรงกว่านั้นคือวัยรุ่นมีการพยายามทำร้ายตนเองหรือถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ . การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาที่สำคัญด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะการฆ่าตัวตายสำเร็จในวัยรุ่นอายุ 15 -19 ปีในเพศหญิงเป็นสาเหตุการฆ่าตัวตายอันดับที่ 2 รองจากปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการฆ่าตัวตายสาเร็จในวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปีในเพศชายการฆ่าตัวตายสาเร็จจัดอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากปัญหาอุบัติจราจร และปัญหาความรุนแรงและอาชญากรรม . งานวิจัยนี้จะเสนอข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต่าง ๆ...

Continue Reading
Posted by | August 5, 2020
ซีรีส์งานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน ชุดที่ 2 โดย รศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

"โครงการแนวทางการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม" โดย รศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . สังคมไทยพบกับปัญหาอาชญากรรมในเด็กและเยาวชนในรอบปีหนึ่งๆประมาณ 30,000 คน หรือเด็กและเยาวชนกระทำผิดทางอาญาต่อประชากรเด็กและเยาวชน คิดเป็น 3.19 ต่อ 1,000 คน สะท้อนให้เห็นว่ามีจำนวนที่ไม่น้อยที่เด็กและเยาวชนเดินออกนอกเส้นทางหรือไม่ได้เข้าสู่เส้นทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสภาวะปกติของประเทศจนต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน . งานวิจัยนี้จะเสนอข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในการนำแนวคิดการศึกษาทางเลือกมาใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน . รับทราบข้อมูลแบบเต็มรูปแบบ สามารถติดตามเวทีเสวนา Policy Focus "เปลี่ยนโลกสีเทาของเด็กและเยาวชน" ในวันพุธที่ 22...

Continue Reading
Posted by | August 5, 2020
ซีรีส์งานวิจัยด้านเด็กและเยาวชน โดย อ.ดร. อรรฏชณม์ สัจจะพัฒนกุล

สืบเนื่องจากการสนับสนุนทุนวิจัยระยะสั้นจำนวน 3 โครงการ ขณะนี้การดำเนินการสำเร็จลุล่วงแล้ว ทางศูนย์วิชาการฯ จึงสรุปข้อค้นพบสำคัญจากงานวิจัยแต่ละชิ้นเป็นอินโฟกราฟิกให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น . เริ่มจาก "โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ พลเมืองเด็กและเยาวชนรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก" โดย อ.ดร. อรรฏชณม์ สัจจะพัฒนกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม . เสนอ 5 ประเด็นหลัก คือ 1. สภาวการณ์สำคัญเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล 2. ความต้องการจำเป็นของเด็กและเยาวชนแต่ละบริบทโรงเรียน 3. การสร้างอนาคตภาพและกลไกนโยบายในการขับเคลื่อนการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ...

Continue Reading
Posted by | May 31, 2020
เสียงสัมภาษณ์ ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ต่อการปรับการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19

https://www.youtube.com/watch?v=e9zoloOPj48 ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ แนะ 3 วิธีปรับรูปแบบการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 เสริมโอกาสการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ เรียนแบบบ้านเรียนหรือศูนย์การเรียน และเรียนแบบชุมชนเป็นฐาน

Continue Reading
Posted by | March 18, 2020
วันเด็กสากล “เพื่อสิทธิเด็กทุกคน”

UNICEF ปล่อยเอกสารสำคัญประมวลสถานการณ์หลังมีประกาศอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1989 กว่า 30 ปีที่ผ่านมาประชาคมโลกได้ทำตามสัญญาในการเคารพสิทธิของเด็กด้านใดบ้าง สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน https://www.unicef.org/world-childrens-day และ https://www.unicef.org/…/Convention-rights-child-at-crossro…

Continue Reading
Posted by | March 18, 2020
[VDO] คิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ แฟลชม็อบ ของนิสิตนักศึกษา ?

https://www.youtube.com/watch?v=Xh99vIgh0TU&t=3s สัมภาษณ์ ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Continue Reading
Posted by | January 20, 2020
เด็ก เยาวชน พลเมือง

โดย สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน, พจนา อาภานุรักษ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายคนคงทราบดีว่าวันเด็กเป็นวันที่ถูกกำหนดขึ้นให้ตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยเริ่มมีการจัดกิจกรรมครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ซึ่งตรงกับปีที่ทั่วโลกจัดให้มีการเฉลิมฉลองให้กับเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หลังจากมีการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยหน้าที่ของเด็ก โดยนาย วี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ สำหรับในประทศไทยแต่เดิมวันเด็กนั้นตรงกับวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม แต่เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศที่ยังคงมีฝนตกอยู่ในฤดูกาลดังกล่าว คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงมีมติให้เปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมในปี พ.ศ. 2508 "เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย" คือคำขวัญวันเด็กประจำปี...

Continue Reading
Posted by | July 3, 2019
เอกสารวิชาการการส่งเสริมกระบวนการทางความคิด (Mindset) เด็กและเยาวชนสู่ประเทศไทย 4.0 (2562)

ผู้แต่ง: สมพงษ์ จิตระดับ และคณะ ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจาก:กรมกิจการเด็กและเยาวชนและสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทั้งนี้ การดําเนินงานวิจัย “การส่งเสริมกระบวนการทางความคิด (Mindset) เด็กและเยาวชนสู่ประเทศไทย 4.0” โดยศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ได้รับการสนับสนุน จากกรมกิจการเด็กและเยาวชนและสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ศึกษางานวิจัย ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีข้อค้นพบ คือ การพัฒนาเด็กและเยาวชนต้องสร้างให้เกิดกระบวนการ ทางความคิดแบบกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) มากกว่ากรอบความคิดแบบติด (Fixed...

Continue Reading
Posted by | July 3, 2019
เรื่องเล่า…จากพื้นที่ (2561)

ผู้แต่ง: สมพงษ์ จิตระดับ และคณะ ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจาก: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หนังสือเรื่องเล่า...จากพื้นที่ จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอเสน่ห์ที่ได้จากการลงพื้นที่ ภาคสนามประกอบการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัย ทั้งสิ้น 16 จังหวัด ภายใต้ “โครงการ การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อการขับเคลื่อน นโยบายการศึกษาจากล่างสู่บน” โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นและฝ่ายชุมชนและสังคม ซึ่งสังเคราะห์ในประเด็น ด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นที่ปรากฏผลการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปดีขึ้นใน แทบทุกด้าน อันเนื่องจากการวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้เป็นวิธีวิทยาการวิจัยทางเลือกที่มี บทบาทสำคัญยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สาระสำคัญในหนังสือเล่มนี้ขอนำเสนอมุมมองของทีมสังเคราะห์...

Continue Reading
Posted by | July 3, 2019
การวิจัยท้องถิ่นล่างสู่บน: แนวปฏิบัติเชื่อมร้อยนโยบาย (2561)

ผู้แต่ง: สมพงษ์ จิตระดับ และคณะ ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจาก: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หนังสือเรื่องการวิจัยท้องถิ่นล่างสู่บน: แนวปฏิบัติเชื่อมร้อยนโยบาย จัดทำขึ้น เพื่อนำเสนอสาระสำคัญที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัย และการลงพื้นที่ภาค สนามทั้งสิ้น 16 จังหวัด ภายใต้ “โครงการการสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุมชน โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาจากล่างสู่บน” โดยได้รับทุน สนับนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นและฝ่าย ชุมชนและสังคม ซึ่งสังเคราะห์ในประเด็นด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นที่ ปรากฏผลการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปดีขึ้นในแทบทุกด้าน อันเนื่องจากการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้เป็นวิธีวิทยาการวิจัยทางเลือกที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จ...

Continue Reading