คลังความรู้

Posted by | March 23, 2022
รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กนอกระบบการศึกษา

โลกยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กนอกระบบการศึกษายุคใหม่มีช่องทางการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น แต่นอกจากการหาความรู้จากโลกดิจิทัลแล้ว พบว่าความรู้เดิมยังคงมีคุณค่าแก่คนในท้องถิ่นนั้น ๆ ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กนอกระบบการศึกษาจึงมีหลากหลายรูปแบบดังนี้ . รูปแบบที่ 1 การเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กนอกระบบการศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในสิ่งที่สนใจ สามารถหาความรู้นั้นจากการอ่านหนังสือ YouTube Google หรือจากหน้าเพจต่าง ๆ รวมทั้งการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง . รูปแบบที่ 2 การเรียนรู้จากครอบครัว หลายครอบครัวประกอบอาชีพส่วนตัวอยู่แล้ว ทั้งในภาคการเกษตร หรือการเป็นผู้ประกอบการ เป็นการเรียนรู้จากคนใกล้ตัวที่บางครั้งเราอาจจะหลงลืมและไม่ให้ความสำคัญ . รูปแบบที่ 3 การเรียนเป็นกลุ่มตามความสนใจ การเรียนรู้เป็นกลุ่มตามความสนใจจะช่วยให้เด็กนอกระบบการศึกษามีเพื่อนร่วมเรียนรู้...

Continue Reading
Posted by | March 21, 2022
หลักการและเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา

. การที่เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาไม่ได้เป็นเพราะว่าไม่มีศักยภาพที่จะเรียนต่อ แต่อาจจะเป็นเพราะความยากจนหรือขาดโอกาส และอาจจะเกิดจากระบบการศึกษาที่ทำให้ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากเป็นการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์ ความต้องการของผู้เรียน ทั้งหลักสูตร วิธีการสอน หรือสภาพภูมินิเวศที่ไม่เอื้อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือพัฒนาด้วยตนเอง ดังนั้นการวางแผนและการจัดการเรียนรู้ให้เด็กนอกระบบการศึกษาจะต้องคำนึงถึงหลักคิดพื้นฐานและเป้าหมายในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา . ข้อมูลจาก หนังสือชุดความรู้เล่มที่ 2 “การวางแผนและการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา” ภายใต้ “โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) . อ่านและดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.cydcenter.com/nfe_series/

Continue Reading
Posted by | March 21, 2022
5 วิธีดูแลใจคนใกล้ตัว

. คนใกล้ตัว คือ คนที่อยู่รอบตัวเราที่สุดแต่เรามักมองข้าม คนที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด มักเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญที่สุด สิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เราก็คิดอยู่ว่าเราก็ต้องเห็นอยู่แบบนั้นจนเราละเลยไป . ข้อมูลชุดความรู้นี้เป็นเพียงวิธีการ (How to) ดูแลใจคนใกล้ตัวเบื้องต้นที่จะให้ทุกคนได้ดูแลใจ รวมถึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของคนใกล้ตัวที่มีต่อชีวิตของเรา "อย่ารอให้เขาจากไปเสียก่อนถึงค่อยมาเห็นคุณค่าของเขา" . ข้อมูลจาก หนังสือชุดความรู้ที่ 3 "การดูแลตนเองของครูนอกระบบการศึกษา" ภายใต้ “โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) . อ่านและดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่ :...

Continue Reading
Posted by | March 21, 2022
5 ขั้นตอนฝึกรักและกรุณาต่อตนเอง

. นอกจากการมอบความรัก ความเมตตา ปรารถนา ใจดีต่อผู้อื่นแล้วนั้น การมอบความรักและความกรุณาให้แก่ตัวเองในทุก ๆ วัน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราจรรโลงจิตใจในสังคมอีกอย่างหนึ่งด้วย ข้อมูลชุดความรู้นี้จึงอยากเชิญชวนทุกคนให้กลับมาเริ่มต้นดูแลเยียวยาจิตใจ ส่งมอบความรัก ความปรารถนาดีให้กับตนเอง และอย่าลืมตอบคำถามกับตัวเองว่า "คุณรักตัวเองแล้วหรือยัง" . ข้อมูลจาก หนังสือชุดความรู้ที่ 3 "การดูแลตนเองของครูนอกระบบการศึกษา" ภายใต้ “โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) . อ่านและดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.cydcenter.com/nfe_series/

Continue Reading
Posted by | March 16, 2022
การศึกษาปัจจัยสาเหตุของปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบ

การศึกษาปัจจัยสาเหตุของปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบ จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและปัจจัยสาเหตุของปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบในรอบ 10 ปี (2549-2559) และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเด็กและเยาวชนนอกระบบ สามารถสรุปได้ ดังนี้ อยู่ท่ามกลางพื้นที่เสี่ยงที่เข้าถึงได้ง่าย ดังที่ อมรวิชช์ นาครทรรพ และจุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ (2549) ระบุว่าบริบททางสังคมของโรงเรียนจำนวนมากในต่างจังหวัด มีการก็อปปี้อบายมุขทุกอย่างไปจากกรุงเทพฯ ไปรุกเร้าจิตวิญญาณของเด็ก ทั้งสื่อลามก เหล้า การพนัน ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กจำนวนมากก้าวเข้าไปสู่การดำเนินชีวิตผิด ๆ และอาจตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และยาเสพติดได้โดยง่าย ดังที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ม.ป.ป.) ระบุถึงสาเหตุของเด็กออกกลางคันที่ส่วนหนึ่งมาจากการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์และยาเสพติด โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายขอบและจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือลูกแรงงานต่างด้าว ที่มักถูกล่อลวงให้ไปบังคับใช้แรงงาน บังคับค้าประเวณี...

Continue Reading
Posted by | December 14, 2021
แนะนำหนังสือ “ก่อน” พระอาทิตย์ตกดิน (Before the sunset)

หนังสือ “ก่อน” พระอาทิตย์ตกดิน (Before the sunset) เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการภายใต้โครงการประสานงานเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) นำเสนอเรื่องราวชีวิตจริงของเด็กนอกระบบการศึกษาที่เกิดจากประเด็นปัญหาที่ปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน เรื่องราวเล่านี้เป็นเพียงตัวแทนของเด็กและเยาวชนอีกกว่า 25,000 ชีวิตที่มีความฝัน ความหวัง และความต้องการอนาคตที่ดีเพื่อตนเองและครอบครัว บางคนใช้โอกาสที่ได้รับในครั้งนี้เปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ถูกแปรเปลี่ยนเส้นทางชีวิตใหม่ ทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงรูปธรรมผ่านการเข้าไปสนับสนุนเด้กและเยาวชนแบบรายบุคคลและกลุ่ม อ่านและดาวน์โหลดทั้งหมด

Continue Reading
Posted by | November 29, 2021
บทความ “Node: หน่วยประสานเครือข่ายงานด้านการพัฒนาสังคมใน มุมมองทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำการ”

บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออรรถาธิบายความเป็นมาของ node หน่วยประสานเครือข่ายงานด้านการ พัฒนาสังคมในประเทศไทยและอภิปรายใน 3 ประเด็น คือ1. บทบาทและรูปแบบการทำงาน 2.องค์ประกอบด้าน คุณลักษณะของ node ประกอบด้วยคุณลักษณะด้านความรู้ทักษะ และเจตคติต่อการททำงานพัฒนาสังคม และ 3. ความสัมพันธ์ของnode กับงานพัฒนาสังคมตามทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำการ ผลการถอดบทเรียนการทำงาน ของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน พบว่า1.node มีบทบาทเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมโดยมีรูปแบบการททำงานแบบประสานความร่วมมือกับองค์กรทางสังคม 2.node ต้องมีคุณลักษณะด้าน ความรู้ที่หลากหลายทั้งกว้างและลึกเชิงประเด็น มีทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วม และมีอุดมการณ์ ในการทำงานเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ และ...

Continue Reading
Posted by | November 26, 2021
บทความ “แนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมือง : การเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของประเทศไทย สาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์”

บทคัดย่อ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตของแนวทางการพัฒนาคุณภาพเยาวชนพลเมืองของประเทศไทย สาธารณรัฐเอสโตเนีย และสิงคโปร์ โดยใช้การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารข้อมูลเชิงนโยบายของภาครัฐและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะ 3 แหล่ง ได้แก่ 1) แผนพัฒนาเยาวชนแห่งชาติของสาธารณรัฐเอสโตเนีย ปี 2014-2020 2) เอกสารวิจัยของสภาเยาวชนแห่งชาติสิงคโปร์และแผนปฏิบัติการเยาวชนสิงคโปร์ และ 3) รายงานการศึกษาการส่งเสริมกระบวนการทางความคิดเด็กและเยาวชนสู่ประเทศไทย 4.0 โดยสังเคราะห์ในประเด็นแนวทางเชิงนโยบาย วิธีการพัฒนาเยาวชนเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง และแนวทางการส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโต ผลการศึกษาพบว่าในสาธารณรัฐเอสโตเนีย สิงคโปร์ และไทย มีความคล้ายคลึงกันในด้านวิธีการกำหนดนโยบายการพัฒนาเยาวชนและการสนับสนุนงบประมาณการทำงานให้กับเยาวชนโดยตรงผ่านช่องทางต่าง ๆ แต่มีความแตกต่างกันในด้านแนวคิดและวิธีการทำงานพัฒนาเยาวชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน และการสร้างนิเวศวัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับเยาวชนที่สอดคล้องกับกรอบความคิดแบบเติบโต สามารถอ่านได้ที่ลิ้งด้านล่าง...

Continue Reading
Posted by | November 18, 2021
ไฟล์นำเสนอเวทีบทเรียนและความท้าทายของการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา วันที่ 18 พ.ย. 64

. ดาวน์โหลดเอกสารประกอบงานเวทีเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ 3

Continue Reading