editor

Posted by | July 29, 2021
ระบบสนับสนุนและพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา

เนื้อหาในหนังสือระบบสนับสนุนและพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา แบ่งตามประเภทเด็กนอก ระบบการศึกษาที่ทางโครงการได้พบเจอเป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วย 6 ประเภท ได้แก่ 1) เด็กในกระบวนการ ยุติธรรม 2) เด็กพิการในชุมชน 3) เด็กชาติพันธุ์ 4) เด็กไร้สัญชาติและลูกหลานแรงงานต่างด้าว 5) เด็กมุสลิมใน พื้นที่ต่าง ๆ และในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 6) เด็กยากจนในชุมชน คลิกเพื่อดาวน์โหลด

Continue Reading
Posted by | July 14, 2021
เรื่องเล่าจากพื้นที่: บันทึกเรื่องเล่าในพื้นที่ผ่านมุมมองเครือข่ายคนทำงานครูและเด็กนอกระบบการศึกษา

หนังสือ เรื่องเล่าจากพื้นที่เกิดขึ้นภายใต้ โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการนำเสนอเรื่องราวการทำงานในพื้นที่ของตนเอง ทั้งจุดเด่น เอกลักษณ์ กระบวนการ ตลอดจนอุปสรรคในการช่วยเหลือครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ผ่านเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน โดยประกอบด้วย 10 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการ Young kids 6 Part 2) โครงการพัฒนาครูและเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) โครงการการพัฒนาศักยภาพด้านการใช้สื่อออนไลน์ สำหรับจัดกระบวนการเรียนรู้บนฐานนิเวศวัฒนธรรมชุมชน เพื่อสร้างอาชีพเกี่ยวกับอาหารและสมุนไพร 4)...

Continue Reading
Posted by | July 14, 2021
การพัฒนาและสนับสนุนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา: ข้อเสนอสู่พื้นที่และนโยบาย

หนังสือเรื่องการพัฒนาและสนับสนุนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา: ข้อเสนอสู่พื้นที่และนโยบาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการภายใต้โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอสาระสำคัญในเชิงข้อเสนอแนะสำหรับผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงาน องค์กรที่ดูแลเด็กนอกระบบการศึกษาและข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐในการสนับสนุนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา สาระสำคัญของหนังสือนี้ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลจากการติดตามผลการดำเนินการของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ปีการศึกษา 2563 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ทั้งทางเอกสารการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การลงพื้นที่ที่ดำเนินการของโครงการ และการจัดเวทีถอดบทเรียนร่วมกับทุกโครงการดังกล่าว ทำให้ได้ข้อเสนอแนะและข้อเสนอเชิงนโยบายที่มาจากการทำงานในพื้นที่จริงและสถานการณ์จริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงาน องค์กรที่ดูแลเด็กนอกระบบการศึกษา และภาครัฐที่จะนำไปเป็นแนวทางหรือแนวนโยบายเพื่อช่วยกันในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบการศึกษา โดยพัฒนาระบบการค้นหาเฝ้าระวัง ติดตาม และช่วยเหลือเด็กให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ติดตาม ช่วยเหลือเด็กนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าศึกษาต่อหรือได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ รวมทั้งป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษา คลิกเพื่อดาวน์โหลด

Continue Reading
Posted by | July 9, 2021
Motion การพัฒนาครูนอกระบบการศึกษา

https://www.youtube.com/watch?v=tjklf6QmVag ข้อต่อที่สำคัญของการพัฒนาเด็กนอกระบบการศึกษาให้มีความรู้และได้รับการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตท่ามกลางสังคมที่แปรเปลี่ยน นั่นคือ ครูนอกระบบการศึกษา . “การพัฒนาครูนอกระบบการศึกษา” จำต้องมีสมรรถนะหลักทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ รวมไปถึงกระบวนการในการพัฒนาศักยภาพครูผ่านการทำงานพื้นที่การเรียนรู้และบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จะช่วยให้ครูเข้าไปช่วยเหลือ พัฒนา ทำงานกับเด็กนอกระบบการศึกษาได้อย่างยั่งยืน

Continue Reading
Posted by | July 9, 2021
สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนน

. สมรรถนะ (Competency) ที่จำเป็นสำหรับครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนน หมายถึง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ (Knowledge, Skills and Personal Attribute) ของบุคคลที่จำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ประสบผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ . ซึ่งผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนน 3 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะด้านทัศนคติ สมรรถนะด้านทักษะ และสมรรถนะด้านความรู้ ตามลำดับ และสมรรถนะที่มีความจำเป็นมากที่สุดจำนวน 7 เรื่อง (ตามรูปภาพ) . ดังนั้น รูปแบบและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนน...

Continue Reading
Posted by | July 9, 2021
การส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเด็กบนท้องถนนในเขตกรุงเทพฯ

กลุ่มเด็กบนท้องถนน (Children in Street) เป็นหนึ่งกลุ่มคนในสังคมที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โควิด (COVID-19) ทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการทำงาน . ผลการศึกษาจากโครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเด็กบนท้องถนน (Children in Street) ในเขตกรุงเทพมหานคร พบรูปแบบและกลไกการให้บริการการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ ถึงเวลาแล้วที่ภาคส่วนต่างๆ ควรต้องให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพ และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับตามความเหมาะสม ปรับลักษณะการเรียนรู้ให้มีความยืดหยุ่นโดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางการทำงานเพื่อสร้างเสริมศักยภาพกลุ่มเด็กบนท้องถนนรายบุคคล เพิ่มการสื่อสารและการรับช่วงต่อการทำงานที่เป็นระบบในลักษณะภาคีการส่งเสริมการพัฒนากลุ่มเด็กบนท้องถนนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สู่โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค ทั่วถึง และเป็นธรรม . รายการอ้างอิง นายกุลธร เลิศสุริยะกุล, นิตติยา...

Continue Reading
Posted by | July 6, 2021
หนังสือชุดความรู้การวางแผนและการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา (3 เล่ม)

หนังสือชุดความรู้การวางแผนและการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา เกิดขึ้นภายใต้ “โครงการการสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนครูและเด็กนอกระบบการศึกษา” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพัฒนาครู นักศึกษาครู และสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ทั้งนี้ โครงการมีเป้าประสงค์เพื่อสร้างและเสนอกลไกในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตของเด็กนอกระบบการศึกษาควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพครูนอกระบบการศึกษาที่ดูแลกลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์หนึ่ง คือ การสนับสนุนและติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุน โดย การจัดทำชุดความรู้เพื่อสนับสนุนการทำงานของครูนอกระบบการศึกษา หนังสือชุดความรู้นี้เกิดขึ้นจากผลการสำรวจความต้องการและการลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการทำงานด้านองค์ความรู้ของครูนอกระบบการศึกษาในโครงการจำนวน 19 โครงการ และพัฒนาเป็นชุดความรู้เพื่อสนับสนุนการทำงานของครูและเด็กนอกระบบการศึกษาขึ้น ทั้งนี้ หนังสือชุดความรู้มีจำนวนทั้งสิ้น 3 เล่ม ประกอบด้วย ชุดความรู้ที่ 1 หลักการและกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลเด็กนอกระบบการศึกษา คลิกเพื่อดาวน์โหลด ชุดความรู้ที่ 2...

Continue Reading
Posted by | June 25, 2021
บทความพิเศษ อัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศของนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทย

บทความนี้ได้ศึกษาการใช้พื้นที่การแข่งขันเต้นของกลุ่มนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทย ในการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ LGBT และอำนาจต่อรองอัตลักษณ์ของกลุ่มนักเต้น โดยในงานศึกษานี้ได้ใช้แนวคิด อัตลักษณ์ทางเพศมาใช้ใน การวิเคราะห์ภายใต้องค์ประกอบสำคัญ เช่น การแต่งกาย ท่าเต้น การแสดงออก กับนักเต้นในทีมและผู้ชม ผู้วิจัยยังได้ใช้แนวคิดในเรื่อง “ชีวอำนาจ” (Biopower) ในการวิเคราะห์อำนาจในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ทางเพศในพื้นที่การเต้น Cover Dance จากการวิเคราะห์อัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศของนักเต้น Cover Dance ในประเทศไทยนี้ ได้ต่อยอดความคิดจากงานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารกับการประกอบสร้างอัตลักษณ์กลุ่มวัฒนธรรมย่อยของนักเต้น Cover Dance” เพื่อหารูปแบบการประกอบสร้างอัตลักษณ์ชุดใหม่ในพื้นที่การเต้น Cover Dance โดยค้นพบว่ากลุ่ม...

Continue Reading
Posted by | June 12, 2021
ปฐมพยาบาลหัวใจให้เด็กนอกระบบ

ผู้เขียน : กชวร จุ๋ยมณี เด็กนอกระบบนอกจากนอกจากจะขาดโอกาสที่เท่าเทียมในการศึกษาและประกอบอาชีพแล้ว หลายคนยังมีความเสี่ยงที่จะถูกล่วงละเมิด (Abuse) ทั้งทางร่างกาย จิตใจและทางเพศ บางคนถูกกลั่นแกล้ง (Bully) ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน จนเกิดความเครียด นำไปสู่ความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีคุณครูนอกระบบบางคนเคยเปรยกับผู้เขียนว่า อยากช่วยเด็ก ๆ เมื่อประสบความทุกข์ยาก จะทำอย่างไรดี? หนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุด เป็นวิธีปฐมพยาบาลที่ช่วยดูแลหัวใจที่บอบช้ำของเด็กนอกระบบ (รวมทั้งมนุษย์ทุกคน) คือ การฟังด้วยหัวใจ เป็น "การฟังอย่างลึกซึ้ง" (Deep Listening) ที่เปรียบเสมือนกุญแจที่จะเข้าถึงใจของผู้ที่เราสนทนาด้วย การฟังนั้นต้องอาศัยประสาทสัมผัสหลายส่วน...

Continue Reading