editor

Posted by | July 18, 2022
“การจัดการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กด้อยโอกาส”

. การจัดการศึกษานอกระบบสำหรับเด็กด้อยโอกาสเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษานอกระบบในทุกรูปแบบตามความสามารถ ศักยภาพ และบริบทของเด็กแต่ละบุคคลต่อไป ทั้งการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะอาชีพ และการพัฒนาทักษะชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ และสังคมของเด็กด้อยโอกาส . อ้างอิง: วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. “การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ” รวมบทความวิชาการ การศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2565. . ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chulabook.com/th/product-details/146996

Continue Reading
Posted by | June 13, 2022
บทบาทของโรงเรียนในการดูแลและช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศ

วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีอารมณ์รุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลต่อการแสดงออกที่เปลี่ยนแปลงไปจากวัยเด็ก รวมถึงอยู่ในช่วงของค้นหาตนเอง วัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศจึงต้องการความเข้าใจและการสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อน และครู ในขณะเดียวกันวัยรุ่นใช้เวลาในแต่ละวันที่โรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น บทบาทของโรงเรียนและครูจึงเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมวัยรุ่น ที่มีความหลากหลายทางเพศให้มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น . ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.ดร.ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ อ.ดร.ชนัญชิดา ทุมมานนท์ น.ส.ชุติมณฑน์ คล้ายแก้ว และน.ส.กรผกา พัฒนกำพล ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sjss/article/view/252048

Continue Reading
Posted by | June 9, 2022
บทบาทของครอบครัวในการดูแลและช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศ

. วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีอารมณ์แปรปรวน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลต่อการแสดงออกที่เปลี่ยนแปลงไปจากวัยเด็ก รวมถึงอยู่ในช่วงของการค้นหาตนเอง ด้วยเหตุนี้ วัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศจึงต้องการความเข้าใจและการสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อน และครู บทบาทของสมาชิกในครอบครัวจึงเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศให้มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น . ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.ดร.ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ อ.ดร.ชนัญชิดา ทุมมานนท์ น.ส.ชุติมณฑน์ คล้ายแก้ว และน.ส.กรผกา พัฒนกำพล ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sjss/article/view/25

Continue Reading
Posted by | June 8, 2022
ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างรุ่น : “ผู้สูงอายุ” กับการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ “เด็กนอกระบบการศึกษา”

บทบาทสำคัญของผู้สูงอายุอีกประการหนึ่งคือการส่งเสริมการเรียนรู้แก่ประชากรต่างรุ่น ได้แก่ วัยก่อนเรียน วัยเรียน และวัยทำงาน อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณากลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่เป็น “เด็กนอกระบบการศึกษา” แล้ว จะพบว่าเด็กนอกระบบนั้นส่วนมากแล้วจะเป็นวัยก่อนเรียน และวัยเรียน ดังนั้นบทบาทของผู้สูงอายุในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กลุ่มดังกล่าวสามารถกระทำได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ บทบาทของผู้สูงอายุในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่วัยก่อนเรียน การส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่วัยก่อนเรียนของผู้สูงอายุ โดยส่วนมากแล้วจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยบทบาทของผู้สูงอายุมีดังนี้ เป็นแบบอย่าง / ตัวอย่างในการดำเนินชีวิต การเป็นเป็น หมายถึง ผู้สูงอายุแสดงให้เด็กเข้าใจ โดยใช้วิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น การสอนให้รู้จักระเบียบวินัย รักษาความสะอาด วางสิ่งของให้เป็นที่เป็นทาง ฯลฯ เป็นภูมิปัญญา ผู้สูงอายุในฐานะที่มีความรู้และประสบการณ์มาก่อน จะเป็นองค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่สำหรับเด็ก...

Continue Reading
Posted by | May 30, 2022
[Factsheet] วิทยากรการเกษตร

“วิทยากรการเกษตร” คือ เกษตรกรผู้มีบทบาทสำคัญในการยกระดับและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทยสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ด้วยการสร้างองค์ความรู้และจัดเตรียมกระบวนการจัดประสบการณ์ผ่านการปฏิบัติเพื่อสร้างการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตลอดชีวิตให้เกษตรกรรุ่นใหม่ อย่างไรก็ดี แม้เกษตรกรท่านนั้นจะเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องที่ตนทำอยู่อย่างแตกฉาน แต่ขาดทักษะการเป็นวิทยากร ไม่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ก็น่าเสียดายความรู้ที่มีอยู่ในตนอย่างยิ่ง . การเป็นวิทยากรเป็น “ศาสตร์” และ “ศิลป์” เมื่อเกษตรกรจำเป็นต้องปรับบทบาทจากการทำงานภาคการเกษตร มารับหน้าที่เป็น “ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ” ให้เกษตรกรรุ่นใหม่ ศาสตร์และศิลป์นี้จึงจำเป็นต้องเร่งเรียนรู้และฝึกฝน เก็บเกี่ยวประสบการณ์เพิ่มเติม และฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ เกษตรกรย่อมเกิดความพร้อมและสามารถเป็น “วิทยากรการเกษตร” ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและเศรษฐกิจชุมชนของตนเองได้อย่างมั่นใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ร่วมกันที่ท้าทายและสนุกสนาน . ในการพัฒนาเด็กนอกระบบการศึกษา “วิทยากรการเกษตร”...

Continue Reading
Posted by | May 24, 2022
เทคนิคการพูดด้านบวกกับเด็กนอกระบบการศึกษา

. “เด็กมักจะคิดตามสิ่งที่ได้ยินและเป็นอย่างที่คิด” คำพูดของครูนอกระบบการศึกษามีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเด็กนอกระบบการศึกษา ดังนั้น ครูนอกระบบการศึกษาจึงควรใช้คำพูดด้านบวกกับตัวเองและเด็ก ๆ เพื่อให้เด็กเติบโตมาเป็นคนที่อารมณ์ดีและเห็นคุณค่าในตนเอง มองโลกและชีวิตในทางบวกมากยิ่งขึ้น การพูดเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เทคนิคการพูดด้านบวกกับตัวเองและเด็ก ๆ แบบง่าย ๆ เป็นสิ่งที่ครูนอกระบบควรเริ่มฝึกฝนตั้งแต่วันนี้ . ปรับปรุงจากบทความเรื่อง วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. เพิ่มพลังบวกให้ลูกด้วยการพูด. แม่และเด็ก 45,559. มกราคม – มีนาคม 2565.

Continue Reading
Posted by | May 24, 2022
เพราะ “ทุกพื้นที่คือแหล่งเรียนรู้”

ครูนอกระบบการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กนอกระบบการศึกษาเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ได้ค้นหาสิ่งที่ตนเองสนใจ ก่อเกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ติดตัวและใช้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต . ปรับปรุงจากบทความเรื่อง วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. เพิ่มพลังบวกให้ลูกด้วยการพูด. แม่และเด็ก 45,559. มกราคม – มีนาคม 2565.

Continue Reading
Posted by | May 23, 2022
“เด็กมักจะคิดตามสิ่งที่ได้ยินและเป็นอย่างที่คิด”

คำพูดของครูนอกระบบการศึกษามีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเด็กนอกระบบการศึกษา ดังนั้น ครูนอกระบบการศึกษาจึงควรใช้คำพูดด้านบวกกับเด็ก เพื่อให้เด็กเติบโตมาเป็นคนที่อารมณ์ดีและเห็นคุณค่าในตนเอง มองโลกและชีวิตในทางบวกมากยิ่งขึ้น การพูดเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้และฝึกฝนได้ เทคนิคการพูดด้านบวกกับตัวเองและเด็ก ๆ แบบง่าย ๆ เป็นสิ่งที่ครูนอกระบบควรเริ่มฝึกฝนตั้งแต่วันนี้ . ปรับปรุงจากบทความเรื่อง วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา. เพิ่มพลังบวกให้ลูกด้วยการพูด. แม่และเด็ก 45,559. มกราคม – มีนาคม 2565.

Continue Reading
Posted by | March 31, 2022
รูปแบบการศึกษาทางเลือกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็กนอกระบบการศึกษาในสังคมไทย

การศึกษาทางเลือก คือ การจัดการศึกษาที่เคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะเลือกการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่ไม่ประสงค์จะเรียนในระบบการศึกษาตามปกติ เป็นการศึกษาที่มีขอบเขตกว้างขวาง มีรูปแบบหลากหลายทั้งเนื้อหา และวิธีการเรียนรู้ มุ่งตอบสนองการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์แต่ละคนที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ ความพร้อมในการเรียนรู้   รูปแบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมและน่าจะนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็กนอกระบบการศึกษา  บ้านเรียนหรือการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Home School) บ้านเรียนเป็นการพยายามคิดค้นหาแนวทางในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะเป็นทางออก เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาที่มีอยู่ในระบบที่ไม่สามารถตอบสนองกับบริบทของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ช่วยแก้ปัญหาให้กับครอบครัวและผู้เรียนที่มีความต้องการเฉพาะ ผู้เรียนที่มีพรสวรรค์พิเศษในด้านต่าง ๆ รวมถึงผู้เรียนที่มีความบกพร่องบางด้าน มีความพิการ เจ็บป่วย ต้องการการดูแลและการจัดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล บ้านเรียนจึงเป็นพื้นที่ในการปฏิรูปการเรียนรู้ได้อย่างอิสระและหลากหลาย สามารถสร้างนวัตกรรมทางการศึกษามากมายที่มีความแตกต่างกันไปตามปรัชญา ความคิด ความเชื่อ และตามวิถีการดำเนินชีวิตของครอบครัวและผู้เรียน เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เอื้อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและความถนัดได้อย่างเต็มศักยภาพ...

Continue Reading
Posted by | March 23, 2022
กระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา

ครูนอกระบบการศึกษาที่เป็นครูพี่เลี้ยงที่อาจจะเป็นผู้นำในชุมชน ครูในพื้นที่ และองค์กรสาธารณประโยชน์ที่เข้าไปทำงานสนับสนุนเด็กกลุ่มนี้จะต้องจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ จัดร่วมกับกลุ่มการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือกลุ่มการศึกษาทางเลือก ซึ่งทำเป็นหลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตรระยะยาวโดยสามารถทำได้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ . 1. รู้จักตนเอง การดำเนินการขั้นนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนอกระบบการศึกษาได้ทบทวนตัวเอง โดยกิจกรรมที่ใช้ คือ สายธารชีวิต ต้นไม้ชีวิต . 2. ตัวเองมีดี การคิดเชิงบวกทำให้เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถและมีข้อดีของตัวเอง โดยกิจกรรมที่ใช้ คือ ดอกไม้ในใจฉัน ลวดเสียบกระดาษ มนุษย์เปลี่ยนแปลง . 3. ตระหนักถึงสถานการณ์ทางสังคม ทำให้ได้มองเห็นสิ่งรอบตัวเขามากขึ้น...

Continue Reading