กิจกรรม

Posted by | July 18, 2022
โครงการต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา

ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ออกแบบนวัตกรรมการพัฒนาครูนอกระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทที่แตกต่างกันของครูนอกระบบการศึกษาทั้งมิติเชิงคุณลักษณะตามประเภทของครูนอกระบบการศึกษาทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ครูประจำการ ครูนักพัฒนา และครูจิตอาสา และมิติเชิงพื้นที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประสังคมในระดับพื้นที่ . โดยหนึ่งในโครงการจากภาคีเครือข่ายจำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ "โครงการสร้างเสริมสมรรถนะครูผู้ดูแลเด็กในกระบวนการยุติธรรม ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี " ที่มีการศึกษารูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาในกระบวนการยุติธรรมและสร้างเสริมสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาในกระบวนการยุติธรรมผ่านการออกแบบนวัตกรรม . สำหรับกิจกรรมแรกเป็นเวทีชี้แจงโครงการกับครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อออกแบบเครื่องมือสำรวจสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาและสมรรถนะเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา

Continue Reading
Posted by | June 10, 2022
ลงพื้นที่ติดตามโครงการศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาพวิกฤตทางการศึกษา จังหวัดขอนแก่น

เมื่อวันที่ 10-11 มิถุนายน 2565 ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ รศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา และ อ.ดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ลงพื้นที่ติดตามโครงการศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาพวิกฤตทางการศึกษา จังหวัดขอนแก่น . การลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้ได้เห็นกลไกการขับเคลื่อนที่เป็นการบูรณาการการทำงานทั้งหน่วยงานของรัฐในระดับจังหวัดทั้ง จังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด สำนักเขตพื้นที่ทางการศึกษา หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน มูลนิธิ วัด ชุมชน โรงเรียน

Continue Reading
Posted by | April 28, 2022
เวทีแบบมีส่วนร่วมเพื่อคืนข้อมูลและออกแบบต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 26-27 เมษายน พ.ศ. 2565

ในวันที่ 26-27 เมษายน พ.ศ. 2565 หน่วยปฏิบัติงานการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดเวทีแบบมีส่วนร่วมเพื่อคืนข้อมูลและออกแบบต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ (สามย่าน) เป้าหมายการประชุมในครั้งนี้ คือ เพื่อยืนยันและจัดอันดับสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนในปัจจุบันของแต่ละพื้นที่ตามประเภทครูนอกระบบการศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านครูและเด็กนอกระบบการศึกษาในระดับเชิงนโยบาย

Continue Reading
Posted by | March 25, 2022
โครงการ “ต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา”

เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 2) ออกแบบต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 3) ทดลองใช้ต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา และ 4) เสนอแนวทางการใช้ต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาและจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา . วันที่ 25 มีนาคม 2564 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดเวทีแบบมีส่วนร่วมเพื่อวิเคราะห์สมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา โดยใช้การสนทนากลุ่ม (focus group) เป้าหมาย คือ เพื่อให้ได้สมรรถนะที่จำเป็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาครูนอกระบบการศึกษา มีผู้เข้าร่วมคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ...

Continue Reading
Posted by | March 18, 2022
เวทีแบบมีส่วนร่วมเพื่อวิเคราะห์สมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา โดยใช้การสนทนากลุ่ม (focus group)

โครงการ “ต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา” เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 2) ออกแบบต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 3) ทดลองใช้ต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา และ 4) เสนอแนวทางการใช้ต้นแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาและจัดทําข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา . วันที่ 14 มีนาคม 2564 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดเวทีแบบมีส่วนร่วมเพื่อวิเคราะห์สมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา โดยใช้การสนทนากลุ่ม (focus group) เป้าหมาย คือ เพื่อได้สมรรถนะที่จำเป็นต่อการพัฒนาครูนอกระบบการศึกษา ผู้เข้าร่วม...

Continue Reading
Posted by | May 6, 2021
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมศักยภาพโครงการครูและเด็กนอกระบบการศึกษา : เสริมสร้างพลังใจให้ครูนอกระบบ

วันที่ 5-6 เมษายน 2564 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมศักยภาพโครงการครูและเด็กนอกระบบการศึกษา : เสริมสร้างพลังใจให้ครูนอกระบบ แก่คุณครูนอกระบบ และผู้ดำเนินโครงการ 50 คน ภายในสองวันผู้เข้าร่วม ได้ทำ10 กิจกรรมที่ได้กลับมาดูแลจิตใจ ร่างกายตนเอง ได้เครื่องมือกลับไปใช้งานต่อ ตัวอย่างกิจกรรม อาทิ กิจกรรมความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence: EQ), กิจกรรมสร้างเสริมทัศนคติแบบเติบโต (Growth Mindset), กิจกรรมสร้างความพร้อมในการเรียนรู้...

Continue Reading
Posted by | May 6, 2021
ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินของโครงการการพัฒนาระบบสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการศึกษาต่อและมีงานทำสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

วันที่ 30 มี.ค. 2564 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ลงพื้นที่สำรวจความต้องการโครงการรวมถึงติดตามผลการดำเนินของโครงการการพัฒนาระบบสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการศึกษาต่อและมีงานทำสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม คณะทำงานร่วมสังเกตการกิจกรรมวัน Special Day ซึ่งเป็นการประเมินผลทางด้านการศึกษาทักษะทางอาชีพของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เด็กและเยาวชนในการพัฒนาตนเองต่อไป หัวข้อการนำเสนอทักษะทางอาชีพความถนัดของเด็กและเยาวชน ได้แก่ การทำกระเบื้องปูนลายไม้ การทำเครื่องดื่มต่างๆ การนวดแผนไทย และงานฝีมือต่างๆ เป็นต้น โดยกิจกรรมนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) #กสศ #CYD

Continue Reading
Posted by | May 6, 2021
ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินของโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในพื้นที่บ่อเกลือ ณ ศูนย์ประสานงาน มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

วันที่ 28 มี.ค. 2564 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ลงพื้นที่สำรวจความต้องการโครงการรวมถึงติดตามผลการดำเนินของโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในพื้นที่บ่อเกลือ ณ ศูนย์ประสานงาน มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน คณะทำงานร่วมสังเกตการเสริมทักษะอาชีพ ผ่านกิจกรรมฝึกประสบการณ์อาชีพนวดแผนไทย เพื่อให้เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษามีความพร้อมเข้าสู่อาชีพที่ตนเองสนใจและอาชีพที่เป็นที่ต้องการของชุมชน นอกจากกิจกรรมฝึกประสบการณ์อาชีพนวดแผนไทยแล้ว ทางโครงการได้มีกิจกรรมฝึกทักษะอาชีพการก่อสร้างและทักษะการแปรรูปอาหารอีกด้วย โดยกิจกรรมนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) #cyd #กสศ

Continue Reading
Posted by | May 6, 2021
เข้าร่วมและนำเสนอผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมออกแบบ “แนวทางการขับเคลื่อนโครงการการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ปี 2564”

วันที่ 25 มี.ค. 2564 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เข้าร่วมและนำเสนอผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมออกแบบ “แนวทางการขับเคลื่อนโครงการการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ปี 2564” จัดโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ณ โรงแรมมีราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เนื้อหาของการประชุมถูกแบ่งออกเป็นสองช่วง มีรายละเอียดดังนี้ ช่วงเช้าการสะท้อนผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาระยะที่ 1 โดยทีมบริหารการจัดการโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา และแนวทางการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาในมุมมองของอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการฯ และช่วงบ่ายกิจกรรมระดมสมองเพื่อร่วมกันออกแบบโครงการฯ ภาคีที่เข้าร่วมการประชุมได้เสนอข้อคิดเห็นใน 5 ประเด็นได้แก่ 1)...

Continue Reading
Posted by | May 6, 2021
ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับครู เด็กและเยาวชนในชุมชนแรงงานข้ามชาติ จังหวัดเชียงราย (ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่สำนักวิชานวัตกรรมสังคม ม.แม่ฟ้าหลวง) ณ ชุมชนหอพักอภิ Plaza และชุมชนประตูเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม 2564 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับครู เด็กและเยาวชนในชุมชนแรงงานข้ามชาติ จังหวัดเชียงราย (ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่สำนักวิชานวัตกรรมสังคม ม.แม่ฟ้าหลวง) ณ ชุมชนหอพักอภิ Plaza และชุมชนประตูเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย คณะทำงานโครงการได้ร่วมกิจกรรมการแยกขยะในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1) ความสำคัญของการแยกขยะ 2) วิธีการแยกขยะ 3 ชนิด (ขยะติดเชื้อ / ขยะอันตราย / ชขยะขายได้...

Continue Reading