เวทีสาธารณะ “การปฏิรูปการศึกษาที่เยาวชนเป็นเจ้าของ”

เวทีสาธารณะ “การปฏิรูปการศึกษาที่เยาวชนเป็นเจ้าของ”

วันที่ 24 กันยายน 2562 ช่วงเช้าของเวทีวันนี้มีการส่งเสียงจากเยาวชนทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา ผ่านเวที Ed Talk สุขของการเรียนอยู่ที่ไหนในการศึกษาไทย โดยตัวแทนเยาวชนทั้ง 3 คน คือ

‘ดรีม’ วรากรณ์ ใจยา ที่มาถ่ายทอดเส้นทางชีวิตการเรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียนที่เคยถูกตีตราจากครู และการทำงานร่วมกับชุมชน ที่สร้างการเรียนรู้ในอีกมิติหนึ่งที่กว้างกว่าเดิม

‘โม’ ชลธิชา ศรีษะโคตร ที่ช่วยถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน ผ่านการทำงานในสโมสรนิสิตจุฬาฯ ในฐานะนายก อบจ. หญิงคนแรกของมหาวิทยาลัย

และ ‘อิฐ’ วัชรพันธุ์ มุสิกะ นำเสนอพื้นที่การเรียนรู้ของเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่การเรียนรู้

ช่วงต่อมา “เวทีเสวนาสาธารณะ: สุก หรือ สุข พื้นที่การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน” ว่าด้วยการสื่อสารแนวคิด Transforming Education ซึ่งเป็นธีมการขับเคลื่อนวันเยาวชนสากลในวันนี้ โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่

– ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน

– คุณอนุกูล ปีดแก้ว รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน

– คุณวัชรพงศ์ พุ่มชื่น ผู้จัดการมูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทย

– คุณคณิน เครือพิมาย ตัวแทนเยาวชน

– ดำเนินรายการโดยคุณนวพร สุนันท์ลิกานนท์ นักวิชาการจากศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว

ถ่ายทอดภาพการศึกษาไทยในมุมมองที่หลากหลาย ทั้งในแง่ของพื้นที่การเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าห้องเรียน มิติการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความหลากหลาย การดูแลเด็กและเยาวชนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม และช่องทางการเรียนรู้ของคุณรุ่นใหม่

ทั้งนี้ได้มีการนำเสนอผลสำรวจถึงคำถามที่ว่า การศึกษาไทยแท้จริงแล้วเป็นของใคร? สุขของการเรียนรู้อยู่ที่ไหน? และการเรียนรู้ในระบบการศึกษาจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง? พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมในห้องประชุมในวันนี้

ช่วงบ่าย ชวนผู้เข้าร่วมประชุมชมภาพยนตร์ Reach for the SKY ฝากฝันไว้ที่ปลายฟ้า ที่สะท้อนระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในเกาหลีใต้

หลังจากนั้นพูดคุยในวงเสวนา โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่

– ผศ.แวอาซีซะห์ ดาฮายี จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

– อ.ศุภชัย ไตรไทยธีระ จากบริษัท SILC

– คุณสุวิทย์ สิงห์สี ตัวแทนเยาวชน

– ดำเนินรายการโดยคุณพจนา อาภานุรักษ์ นักวิชาการจากศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว

พูดคุยถึงประเด็นความท้าทายของสังคมไทยในการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่เกิดขึ้น การแข่งขันสอบเข้ามหาวิทยาลัย ค่านิยมของสังคมที่มีอิทธิพลต่อการเลือกมหาวิทยาลัย รวมถึงตอบคำถามที่ว่า มหาวิทยาลัยยังเป็นปลายฟ้าแห่งความฝันของเด็กได้จริงหรือไม่ ?

ในเวทีนี้มีนิสิตครุศาสตร์ชั้นปีที่ 1 เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในเวที พร้อมสะท้อนมุมมองผ่านประสบการณ์การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เพิ่งผ่านมาร่วมด้วย

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...