เข้าร่วมและนำเสนอผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมออกแบบ “แนวทางการขับเคลื่อนโครงการการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ปี 2564”

เข้าร่วมและนำเสนอผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมออกแบบ “แนวทางการขับเคลื่อนโครงการการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ปี 2564”

วันที่ 25 มี.ค. 2564 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เข้าร่วมและนำเสนอผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมออกแบบ “แนวทางการขับเคลื่อนโครงการการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ปี 2564” จัดโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ณ โรงแรมมีราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
เนื้อหาของการประชุมถูกแบ่งออกเป็นสองช่วง มีรายละเอียดดังนี้
ช่วงเช้าการสะท้อนผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาระยะที่ 1 โดยทีมบริหารการจัดการโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา และแนวทางการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาในมุมมองของอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการฯ และช่วงบ่ายกิจกรรมระดมสมองเพื่อร่วมกันออกแบบโครงการฯ
ภาคีที่เข้าร่วมการประชุมได้เสนอข้อคิดเห็นใน 5 ประเด็นได้แก่ 1) เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา 2) การพัฒนาระบบและกลไกเพื่อสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ และรูปแบบการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย 3) องค์ความรู้ในการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบ 4) รูปแบบ/วิธีดำเนินโครงการที่เหมาะสม และ 5) การสนับสนุนที่ต้องการจากกสศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น
– ประเด็นเด็ก คือเด็กนอกระบบมีเป้าหมายในชีวิต, วางแผนและออกแบบชีวิตตนเอง, ตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเองได้, เด็กได้รับสถานะและการศึกษาเทียบเท่าเด็กในระบบการศึกษา
– ประเด็นครู คือสามารถพัฒนาเด็กนอกระบบให้มีทักษะพื้นฐานในการอยู่ในสังคม, ครูนอกระบบมีสิทธิ การยอมรับเทียบเท่าครูในระบบ, ครูสามารถพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพและคุณธรรม
– สื่อ องค์ความรู้ และรูปแบบการเรียน คือเกิดนวัตกรรมการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเด็กนอกระบบมากขึ้น, ควรให้ครูและเด็กรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิเด็ก, จิตวิทยาการพัฒนาเด็ก, การให้คำปรึกษา (Counseling & Coaching), กระบวนการถอดบทเรียน (After Action Review), ฯลฯ
– ประเด็นองค์กรและการสร้างเครือข่าย คือมีศูนย์ประสานงานระหว่างองค์กรที่พัฒนาเด็กนอกระบบ ที่มีแหล่งข้อมูล ให้การสนับสนุนการพัฒนาเด็กและครูนอกระบบ, มี MOU ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน หน่วยงานท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา, สร้างกลไกพี่เลี้ยงที่ช่วยพัฒนาครูและเด็กนอกระบบ, มีเวที
เครื่องมือ หรือพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างศูนย์เด็กนอกระบบอย่างต่อเนื่อง
– ฐานข้อมูลเด็ก ควรมีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน และเป็นฐานข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้
ในช่วงสุดท้ายของกิจกรรม พบว่า สิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันนั้น ทำให้ทีมบริหารโครงการ ร่วมทั้งภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมให้ข้อเสนแนะ ได้เล็งเห็นแนวทางของการขับเคลื่อนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบ รวมทั้งคำสำคัญในการออกแบบแนวทางการทำงานต่อไป

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...