ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงาน โครงการกระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูจิตอาสาเพื่อเด็กนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงาน โครงการกระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูจิตอาสาเพื่อเด็กนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

เมื่อวันที่ 17-18 สิงหาคม 2565 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงาน โครงการกระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูจิตอาสาเพื่อเด็กนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
.
โครงการฯ ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะจิตวิทยาพัฒนาการเด็กนอกระบบการศึกษา ความเข้าใจธรรมชาติของเด็กนอกระบบการศึกษา และความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศการเรียนรู้ ของครูนอกระบบการศึกษา กลุ่มครูจิตอาสา
.
โครงการฯ ได้ออกแบบกิจกรรมโดยใช้หลักการทางจิตวิทยา (Core of Psychology) 4 ขั้นตอนประกอบด้วย 1. รับรู้ 2. เข้าใจ 3. ทำนาย และ 4. ควบคุม ประกอบกับการกระตุ้นให้ครูนอกระบบการศึกษาได้บอกเล่าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานด้านเด็กของตนเอง ทำให้ผู้เข้าร่วมทุกคนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมอย่างเป็นธรรมชาติ และยังเกิดความสนุกสนานตลอดการจัดกิจกรรม เนื่องจากใช้เกมเป็นกิจกรรมหลักในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
.
สิ่งที่ได้จากการลงพื้นที่ คือ
1. ครูนอกระบบการศึกษาควรทบทวนหรือประเมินตนเองอยู่เสมอว่าสามารถจัดการกับปัญหาของเด็กที่พบได้หรือไม่ ในระดับใด หากไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องค้นหาผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมและส่งต่อให้เกิดการช่วยเหลือต่อไป
2. ได้เครื่องมือในการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาเด็กได้อย่างลึกซึ้ง ทำให้นำไปสู่การออกแบบการช่วยเหลือที่เหมาะสมและนำไปสู่ความสำเร็จได้
3. ได้ทราบทฤษฎีที่ใช้ในการทำนายพฤติกรรมของเด็ก เช่น ทฤษฎี XY ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Maslow’s hierarchy of needs) เป็นต้น
4. ได้เทคนิควิธีในการปรับพฤติกรรมของเด็กให้พึงประสงค์ เช่น การรับฟังอย่างตั้งใจ การเสริมแรงทั้งทางบวกและทางลบ การส่งต่อ เป็นต้น

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...