ภาพบรรยากาศเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “วันเด็ก…ขอนโยบายดีกว่าคำขวัญ”

ภาพบรรยากาศเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “วันเด็ก…ขอนโยบายดีกว่าคำขวัญ”

เวทีเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “วันเด็ก…ขอนโยบายดีกว่าคำขวัญ” วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 9:00-12:00 น. ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์กิตติคุณ อำไพ สุจริตกุล อาคาร 1 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว กล่าวว่า งานวันเด็กของประเทศไทยเกิดขึ้นมาแล้วเป็นเวลา 61 ปี เน้นกิจกรรมการละเล่นที่แต่ละหน่วยงานจัดขึ้น และการให้คำขวัญวันเด็กจากทุกรัฐบาล ซึ่งล้วนเป็นการสะท้อนถึงสิ่งที่ผู้ใหญ่ในสังคมคาดหวังต่อเด็กมาทุกยุคสมัย อีกทั้งยังเกิดข้อค้นพบเกี่ยวกับกรณีวันเด็ก 11 ประเทศ ที่มีการจัดทำนโยบาย และเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม รวมทั้งมีการรับฟังเสียงเด็ก 

นอกจากนี้ศ.ดร.สมพงษ์ ยังกล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งทั้งกฎหมายคุ้มครองเด็กที่ก้าวหน้าดูแลเด็กทุกช่วงวัย มีกองทุนสำหรับเด็กด้อยโอกาส แต่ก็ยังมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ วันเด็กเป็นเพียงกิจกรรมที่ขาดนโยบายเฉพาะที่สำคัญ ขาดการบังคับใช้กฎหมาย ขาดการมีส่วนร่วมของเด็กเยาวชนและวิธีการปฏิบัติที่ยังไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นทิศทางวันเด็กในปีต่อไปจึงควรปฏิรูปงานวันเด็กใหม่ให้มีนโยบายและทิศทางสำหรับเด็ก ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กอย่างแท้จริง

ช่วงที่ 2 เวทีเสวนา “วันเด็ก…ขอนโยบายดีกว่าคำขวัญ” โดยมี ผู้เข้าร่วม ได้แก่ อนาวิล งามสง่า ประธานนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เปรมปพัทร ผลิตผลการพิมพ์ กลุ่ม newground และคำแลง ตัวแทนกลุ่มแกนนำเพื่อนเตือนเพื่อน จ.แม่ฮ่องสอน ดำเนินรายการ โดย คุณกษมา สัตยาหุรักษ์ นักวิชาการจากกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ

ประเด็นพูดคุยหลัก ๆ พูดถึงประสบการณ์ของแต่ละท่านเกี่ยวกับวันเด็ก ข้อคิดเห็นต่อสังคมไทยต่อมุมมองที่มีต่อเด็ก ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ควรมีสำหรับเด็ก และข้อคิดเห็นที่มีต่อผลการสำรวจโพลวันเด็ก รวมถึงสิ่งที่อยากบอกกับนายกรัฐมนตรีในวันเด็กปีนี้

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...