โรงเรียนอินเตอร์ติดดิน (2560)

โรงเรียนอินเตอร์ติดดิน (2560)

ผู้แต่ง: สมพงษ์ จิตระดับ และคณะ ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยการสนับสนุนจาก: มูลนิธิชิน โสภณพนิช

โครงการโรงเรียนกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศ เป็นความร่วมมือระหว่าง ภาคราชการ อันได้แก่ กรุงเทพมหานคร มหานครท้องถิ่นกับภาคเอกชน มูลนิธิชิน โสภณพนิชในเชิงนโยบาย หลักการ และการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้สู่โรงเรียน 440 แห่ง 50 เขตพื้นที่ มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน ด้วยหลักสูตร ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-Centred Education) ควบคู่ไปกับการ Coaching and Mentoring การอบรมดำเนินไปอย่างเข้มข้น เน้นการฝึกปฏิบัติ ลงมือกระทำ การนำไปใช้ ได้จริงมากกว่าการฟังบรรยายดังที่ผ่านมา การปรับเปลี่ยนบทบาทของการนิเทศการศึกษา การติดตามผลในเชิงประเมินผลโครงการมาสู่ระบบการเริ่มเข้าช่วยเหลือครู การสนับสนุน ครูแต่แรกเริ่ม สร้างสัมพันธภาพเชิงบวก การให้ข้อวิจารณ์อย่างกัลยาณมิตร ระบบคืน ข้อมูลน่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจและความไว้วางใจเพิ่มมากขึ้น ตลอดการ Coaching and Mentoring ที่จะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีและแนวทางการนิเทศการศึกษาสมัยใหม่ได้ แม้นผลสำเร็จของความร่วมมือทั้ง 2 ฝ่าย ได้เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น หลายประการนับแต่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ผู้บริหารการศึกษาสามารถยก ระดับคุณภาพโรงเรียนดีกว่าหรือทัดเทียมกับโรงเรียนในสังกัดอื่น ๆ ได้ ครูตั้งใจทำงาน เห็นกระบวนการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนเกิดความสุข ตั้งใจเรียน มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ กล้าแสดงออก คิดวิเคราะห์ได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสามารถตอบโจทย์นโยบายสำคัญ ของประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ การตระเตรียมคนเข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 คุณลักษณะเด็กไทย 3R 8C คะแนน O-NET สูงขึ้นกว่าแต่ก่อน เป็นต้น

ดาวน์โหลด

Related Blogs

Posted by editor | September 14, 2023
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาจังหวัดราชบุรี
สงวนลิขสิทธิ์ / จัดทํา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านและดาวน์โหลด
Posted by editor | July 19, 2023
บทความวิจัย : คุณลักษณะและความต้องการที่หลากหลายของเด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจคุณลักษณะของเด็กนอกระบบการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์ความต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงเป้าหมายด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพของเด็กนอกระบบการศึกษา ตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กนอกระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวน 35,003 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่สาม ยิ่งไปกว่านั้นมีเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาร้อยละ 10 มีจำนวนสูงกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่มี เอกสารแสดงตัวบุคคล ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กนอกระบบการศึกษาคือความยากจนของครอบครัว ผลการวิเคราะห์การสมนัยชี้ให้เห็นว่า เด็กนอกระบบการศึกษามีเป้าหมาย ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพแตกต่างกันโดยแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ 2) กลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อ และ 3) กลุ่มที่ ไม่ต้องการศึกษาต่อ...
Posted by editor | July 4, 2023
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา Organizing Non-formal Education Activities for Out-of-School Children
บทคัดย่อ เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นเด็กที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาและไม่ได้รับสิทธิในด้านการศึกษา เช่น เด็กพิการในชุมชน เด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เด็กไร้สัญชาติและลูกหลาน แรงงานต่างด้าว เด็กยากจนในชุมชน เด็กชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย และเด็กมุสลิมที่เป็นบุตรหลาน ของบุคคลที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศ และในพื้นที่ชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ดังนั้นกิจกรรมการศึกษาควรเป็นกิจกรรม การศึกษานอกระบบโรงเรียนที่น่าจะมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับลักษณะและความต้องการจำเป็นของเด็กนอกระบบการศึกษา ทั้งความรู้ขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยมีกระบวนการในการจัดกิจกรรม คือ การศึกษาธรรมชาติและลักษณะของเด็ก การวิเคราะห์ ความต้องการจำเป็นและความสนใจพื้นฐานในด้านการศึกษาหรือการเรียนรู้ของเด็ก การจัดกิจกรรม...