การศึกษาแบบ“แพเล็ก” (PARELEK Model)

การศึกษาแบบ“แพเล็ก” (PARELEK Model)

การศึกษาในกระแสหลักเปรียบได้ดั่งการเดินทางบนทะเลการศึกษาด้วยเรือใหญ่ที่มีโครงสร้างแน่นหนามั่นคงแต่การเดินทางวิธีนี้ต้องมีต้นทุนการศึกษาที่ทำให้ผู้เรียน “มีความพร้อม” ทั้งทรัพย์พร้อม ครอบครัวพร้อม และใจพร้อม แต่ทุกคนไม่ได้มีความพร้อมเท่าเทียมกันจึงต้องมีการศึกษาทางเลือกรูปแบบอื่น
.
เรือการศึกษาที่มีขนาดเล็กลงมาหน่อยเป็นเรือที่ออกแบบมาเพื่อ “คนไม่พร้อม” ไม่ต้องใช้ต้นทุนมากและมีความยืดหยุ่นด้านเวลาและวิธีการจัดการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับการหารายได้ระหว่างเรียนหรือใช้เวลาไปกับกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันได้ เช่น การจัดการศึกษาระบบ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ เป็นต้น แต่เรือลำนี้ก็ยังมีโครงสร้างที่ออกแบบตามระบบโรงเรียนซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์ของผู้เรียนบางกลุ่มได้
.
การศึกษาแบบ “แพเล็ก” (PARELEK)จึงเป็นการจัดการศึกษาที่ต่อยอดจากการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนซึ่งผู้เรียนสามารถออกแบบรูปแบบ และเวลาในการเรียนของตนเองได้ เสมือนการต่อแพที่ประกอบด้วยขอนไม้องค์ประกอบที่สำคัญจำเป็นต่อการพยุงผู้เรียนที่ “ไม่พร้อม” กับการเรียนในระบบการศึกษา ให้สามารถเดินทางไปบนเส้นทางการศึกษาจนสำเร็จถึงฝั่งได้

Related Blogs

Posted by editor | September 9, 2024
เสียงสัมภาษณ์จากผู้อำนวยการโรงเรียนเนกขัมวิทยา จังหวัดราชบุรี ที่มีการนำ “1 โรงเรียน 3 รูปแบบ”
https://youtu.be/N3-twZ14_ag เสียงสัมภาษณ์จากผู้อำนวยการโรงเรียนเนกขัมวิทยา จังหวัดราชบุรี ที่มีการนำ "1 โรงเรียน 3 รูปแบบ" เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่น ป้องกันเด็กตกหล่น สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา มาช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) สนับสนุนงบประมาณโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) #CYD #กสศ #โรงเรียนเนกขัมวิทยา
Posted by editor | September 9, 2024
เสียงสัมภาษณ์จากอาสาสมัครทั้งจากการครูกศน. ตำบล อสม. ในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา จังหวัดราชบุรี
https://youtu.be/LUgoq_ZyF2c เสียงสัมภาษณ์จากอาสาสมัครทั้งจากการครูกศน. ตำบล อสม. ในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา จังหวัดราชบุรี ใน 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านสวัสดิการสังคม และมิติด้านการสาธารณสุข ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) สนับสนุนงบประมาณโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) #CYD #กสศ #สกร #กศน #ราชบุรี
Posted by editor | September 9, 2024
“เกรียงไกร ชีช่วง” เสียงสัมภาษณ์จากพี่เลี้ยงแกนนำ ในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
https://youtu.be/XN5tuin-02o เสียงสัมภาษณ์จากพี่เลี้ยงแกนนำ ในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ใน 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านการศึกษา มิติด้านสวัสดิการสังคม และมิติด้านการสาธารณสุข ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อสื่อสารขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา เยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน (Thailand Zero Dropout) สนับสนุนงบประมาณโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)